กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแข่งขันกีฬาภายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์
รหัสโครงการ 60-L2527-03-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กุมภาพันธ์ 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์ ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ชอบเรียนรู้ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สติปัญญาและความคิดจะมีความเป็นอิสระ แปรเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัว ชอบลอกเลียนแบบตามความนึกคิดของตน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและลักษณะนิสัย ดังนั้น ครูผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กปฐมวัย และมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากที่สุด โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รู้จักรับผิดชอบ รักเด็ก อุปนิสัยอ่อนโยน จิตใจโอบอ้อมอารี มีความยุติธรรม มีลักษณะเป็นผู้นำ เพื่อจะเป็นผู้ที่ให้การดูแลเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานความคิด สติปัญญา อารมณ์ สังคม ลักษณะนิสัย เสริมสร้างบุคลิกที่ดีให้กับเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนการวางรากฐานของประเทศ ในช่วง ๕ ปี แรกของเด็กเล็ก เป็นระยะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือ ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการแห่งวัย หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและลักษณะนิสัย โดยการส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยให้เหมาะสมตามวุฒิภาวะหรือความพร้อมของเด็กปฐมวัยแต่ละคนตามช่วงอายุ โดยอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูผู้ดูแลเด็กที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นในกระบวนการต่าง ๆ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กเล็กผ่าน ๖ กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี และกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกาลังกาย ส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ส่งเสริมและให้ความรู้ เพิ่มประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้แก่เด็กเล็ก ปลูกฝังการมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีระเบียบวินัย สามัคคี อดทน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและเด็กปฐมวัย โดยสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างดี รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริงมีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระ ทางความคิด สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน อันจะนำไปสู่การทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่งวัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ต่อไป ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์ หมู่ที่ 2 บ้านตะมะยูง ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการแข่งขันกีฬาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจาปี ๒๕๖๐ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสนใจการเล่นกีฬา และกิจกรรมกลางแจ้ง

 

2 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อสร้าง สุขภาพ พลานามัย ที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย

 

3 3 เพื่อส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์และพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้ง ความสัมพันธ์ ของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)

 

4 4. เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริง ในประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส) ในรูปแบบการส่งเสริม การจัดการ เรียนรู้แบบBRAIN-BASE LEARNING (BBL)

 

5 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่าง หลากหลาย เพื่อพัฒนา กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมโยง พัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน อัน จะนาไปสู่การทาให้มีการพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่ สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่งวัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

 

6 6.เพื่อเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ มีความสัมพันธ์อันดีระหว่าง เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง โดยสามารถทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สนุกสนาน และมีความ เพลิดเพลิน

 

7 7. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีระเบียบวินัย ปลูกฝังค่านิยมการเล่นกีฬาให้มีน้าใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

 

8 8. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความอดทน มีสมาธิ และยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมปรึกษาหารือการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมกับ คณะกรรมการบริหาร ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดซีเมนต์ หมู่ที่ 2 บ้านตะมะยูง ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
  2. กำหนดวันการแข่งขัน และกำหนดระเบียบกฎกติกาในการแข่งขัน พร้อมจัดทำรายละเอียดกำหนดการการ แข่งขัน
    ๓ กำหนดประเภทการแข่งขันกีฬา กิจกรรมนันทนาการและการประกวด แต่ละประเภท ดังนี้
    3.1) กิจกรรมการประกวดกองเชียร์
    3.2) กิจกรรมกลางแจ้ง กีฬาและนันทนาการ
    (1) กิจกรรมโยนลูกบอลใส่ตะกร้า
    (2) กิจกรรมเตะบอลเข้าโกล์
    (3) กิจกรรมแต่งตัว
    (4) เกมเป่าลูกโป่ง (5) เกมลากกระสอบ (6) เกมเหยียบลูกโป่ง (7) เกมเก้าอี้ดนตรี (8) แข่งขันชักเยอร์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสนใจการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการและกิจกรรมกลางแจ้ง
๒ เด็กปฐมวัยได้เข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อสร้าง สุขภาพ พลานามัย
ที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย
๓ เด็กปฐมวัยได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้งความสัมพันธ์ของประสาท สัมผัสทั้ง ๕
(การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)
๔ เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริงในประสบการณ์ตรงโดยผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส) ในรูปแบบการส่งเสริมการ
จัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) เหมาะสมตามพัฒนาการแห่งวัย ๕ เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย อันจะนำไปสู่การทำให้มีการพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่ง วัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
๖ เด็กปฐมวัยมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง โดย
สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สนุกสนานและมีความเพลิดเพลิน
๗ เด็กปฐมวัยมีระเบียบวินัย ปลูกฝังค่านิยมการเล่นกีฬาให้มีน้าใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
๘ เด็กปฐมวัยมีความอดทน มีสมาธิ และยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลง
๙ เด็กปฐมวัยได้แสดงออก และมีพัฒนาการรอบด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 09:50 น.