กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแข่งขันกีฬาภายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต
รหัสโครงการ 60-L2527-03-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กุมภาพันธ์ 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ชอบเรียนรู้ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สติปัญญาและความคิดจะมีความเป็นอิสระ แปรเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัว ชอบลอกเลียนแบบตามความนึกคิดของตน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและลักษณะนิสัย ดังนั้น ครูผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กปฐมวัย และมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากที่สุด โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รู้จักรับผิดชอบ รักเด็ก อุปนิสัยอ่อนโยน จิตใจโอบอ้อมอารี มีความยุติธรรม มีลักษณะเป็นผู้นำ เพื่อจะเป็นผู้ที่ให้การดูแลเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานความคิด สติปัญญา อารมณ์ สังคม ลักษณะนิสัย เสริมสร้างบุคลิกที่ดีให้กับเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนการวางรากฐานของประเทศ ในช่วง ๕ ปี แรกของเด็กเล็ก เป็นระยะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือ ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาการแห่งวัย หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและลักษณะนิสัย โดยการส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยให้เหมาะสมตามวุฒิภาวะหรือความพร้อมของเด็กปฐมวัยแต่ละคนตามช่วงอายุ โดยอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูผู้ดูแลเด็กที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นในกระบวนการต่าง ๆ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กเล็กผ่าน ๖ กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี และกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกาลังกาย ส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ส่งเสริมและให้ความรู้ เพิ่มประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้แก่เด็กเล็ก ปลูกฝังการมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีระเบียบวินัย สามัคคี อดทน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและเด็กปฐมวัย โดยสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างดี รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริงมีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระ ทางความคิด สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน อันจะนำไปสู่การทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่งวัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ต่อไป ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต หมู่ที่ 6 บ้านบือแนนากอ ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการแข่งขันกีฬาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจาปี ๒๕๖๐ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสนใจการเล่นกีฬา และกิจกรรมกลางแจ้ง

 

2 2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อสร้าง สุขภาพพลานามัย ที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย

 

3 3 เพื่อส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์และพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้ง ความสัมพันธ์ ของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)

 

4 4 เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริง ในประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5(การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส) ในรูปแบบการส่งเสริม การจัดการ เรียนรู้แบบBRAIN-BASE LEARNING (BBL)

 

5 5 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้แบบBRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่าง หลากหลาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมโยง พัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน อันจะนาไปสู่การทาให้มีการพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่ สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่งวัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

 

6 6.เพื่อเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ มีความสัมพันธ์อันดีระหว่าง เด็กปฐมวัยครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง โดยสามารถทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สนุกสนาน และมีความเพลิดเพลิน

 

7 7 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีระเบียบวินัย ปลูกฝังค่านิยมการเล่นกีฬาให้มีน้าใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

 

8 8เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความอดทน มีสมาธิ และยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลง

 

9 9 เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้แสดงออก และพัฒนาการรอบด้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๗.๑ ประชุมปรึกษาหารือการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมกับ คณะกรรมการบริหาร ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลนายัต หมู่ที่ 6 บ้านบือแนนากอ ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ๗.๒ กำหนดวันการแข่งขัน และกำหนดระเบียบกฎกติกาในการแข่งขัน พร้อมจัดทำรายละเอียดกำหนดการการ แข่งขัน
๗.๓ กำหนดประเภทการแข่งขันกีฬา กิจกรรมนันทนาการและการประกวด แต่ละประเภท ดังนี้
1) กิจกรรมการประกวดกองเชียร์
๒) กิจกรรมกลางแจ้ง กีฬาและนันทนาการ
(๑) กิจกรรมโยนลูกบอลใส่ตะกร้า
(๒) กิจกรรมเตะบอลเข้าโกล์
(๓) กิจกรรมแต่งตัว
(4) เกมเป่าลูกโป่ง (5) เกมลากกระสอบ (6) เกมเหยียบลูกโป่ง (7) เกมเก้าอี้ดนตรี (8) แข่งขันชักเยอร์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสนใจการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการและกิจกรรมกลางแจ้ง
๙.๒ เด็กปฐมวัยได้เข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อสร้าง สุขภาพ พลานามัย
ที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย
๙.๓ เด็กปฐมวัยได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมทั้งความสัมพันธ์ของประสาท สัมผัสทั้ง ๕
(การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)
๙.๔ เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริงในประสบการณ์ตรงโดยผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส) ในรูปแบบการส่งเสริมการ
จัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) เหมาะสมตามพัฒนาการแห่งวัย ๙.๕ เด็กปฐมวัยได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING ( BBL ) โดยเรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย อันจะนำไปสู่การทำให้มีการพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาตามพัฒนาการแห่ง วัยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
๙.๖ เด็กปฐมวัยมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง โดย
สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สนุกสนานและมีความเพลิดเพลิน
๙.๗ เด็กปฐมวัยมีระเบียบวินัย ปลูกฝังค่านิยมการเล่นกีฬาให้มีน้าใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
๙.๘ เด็กปฐมวัยมีความอดทน มีสมาธิ และยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลง
๙.๙ เด็กปฐมวัยได้แสดงออก และมีพัฒนาการรอบด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 09:51 น.