กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 0- 5 ปี อย่างต่อเนื่อง
รหัสโครงการ 60-L2527-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตะมะยูง
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการ รพ.สต.ตะมะยูง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ตะมะยูง ตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 271 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด โดยมีแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร และแนวทางการรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ ๐-๕ ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาทิเช่น โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะมะยูง ในปี ๒๕๕๙รพ.สต.ตะมะยูง มีการจัดบริการคลินิกเด็กดี ๔ ครั้งต่อเดือน โดยกำหนดเป็นช่วงเช้าบริการฉีดวัคซีนที่มาตามนัดและช่วงบ่ายเชิงรุกในพื้นที่ จากการสำรวจเด็กอายุ ๐-๕ ปี มีจำนวนทั้งหมด ๓๓๗ คน มารับวัคซีนตามกำหนดเกณฑ์อายุ จำนวน ๑๔๕ คน เด็กอายุครบ ๑ ปี จำนวน ๔๗ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๙๒ เด็กอายุครบ ๒ ปี คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๐๙เด็กอายุครบ ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๕๒และเด็กอายุครบ ๕ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๑๒ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด พบว่าผู้ปกครองพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนล่าช้า เสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามเกณฑ์อายุ จึงมีการติดตามทั้งเครือข่าย อสม. และเจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.อย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการมีความครอบคลุมมากที่สุดครบถ้วน ร้อยละ ๑๐๐ ทั้งนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลกระทบ ความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มเติม และอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะมะยูง จึงได้จัดโครงการติดตามการได้รับวัคซีน เด็ก ๐-๕ ปีอย่างต่อเนื่องปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี

 

2 2. เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ผู้รับผิดชอบงานสำรวจข้อมูลเด็ก ๐-๕ ปีที่ไม่ได้รับวัคซีน ๑.๒ จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะมะยูง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ๑.๓ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ
๑.๔ ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม. ๑.๕ ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม. ผู้นำศาสนาผู้นำชุมชนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ๒.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ อบรมให้ความรู้ เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ๒.๒ สร้างการมีส่วนร่วมในการฉีดวัคซีนโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครอง ๒.๓ เชิดชูเด็กที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ๓.สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๓.๑ ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
๓.๒ รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ๔.การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๔.๑ เครือข่ายการดำเนินงานในการประชาสัมพันธ์ และการติดตามผู้ปกครองในการพาเด็กอายุ ๐-๕ ปี มารับบริการวัคซีนให้ตรงตามนัด และตรงตามเกณฑ์อายุ อย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็ก ๐-๕ ปีได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ๒. ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปีมีความรู้เพิ่มหลังอบรมร้อยละ ๗๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2560 09:25 น.