กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลิมอ


“ โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ ”

ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสาลิกา หมื่นชล

ชื่อโครงการ โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐

ที่อยู่ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 60-L8426-1-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 18 สิงหาคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลิมอ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 60-L8426-1-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 18 สิงหาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 141,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลิมอ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุขลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐เป็นโครงการที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอจัดทำขึ้น สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เรื่องแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระยะสั้น (พ.ศ.๒๕๕๙ – ๒๕๖๐) และนายกรัฐมนตรี(พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา)ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗พฤษภาคม๒๕๕๙ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรม และได้เร่งมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ”ตามแนวทาง “ ประชารัฐ ” โดยใช้หลัก ๓Rs คือ การใช้น้อยใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในภาพรวมของประเทศลดลงร้อยละ ๕ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดและจัดทำระบบการเก็บและขนขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพภายใต้หลักการ ๓Rs และหลักการประชารัฐ
องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ รับผิดชอบพื้นที่ทั้งหมด ๘ หมู่บ้านมีประชากรทั้งสิ้น ๗,๗๖๙ คน ๒,๑๖๙ หลังคาเรือน ปี ๒๕๕๙ ตำบลตันหยงลิมอ มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นจำนวน ๒,๕๘๗.๕๔ ตัน ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์สัตว์หรือแมลงซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น ยุง แมลงวัน เนื่องจากไม่มีการขนเก็บ สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลตันหยงลิมอ โรคที่นำโดยแมลงที่พบอัตราป่วยค่อนข้างสูงและเป็นปัญหาสำคัญ คือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข แนะมาตรการ ๓ เก็บ ๓ โรคได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพักเก็บขยะเศษ ภาชนะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย และเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ป้องกันโรคจากยุงลาย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ จึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นโดยวิธีบูรณาการงาน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ ขึ้น โดยมีกิจกรรมหลักสำคัญสองกิจกรรมคือ การสร้างแกนนำจิตอาสาเพื่อดำเนินการลดปัญหาขยะของหมู่บ้าน ช่วยให้หมู่บ้านมีการบริหารจัดการขยะของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ ด้านการคัดแยกขยะ การจัดทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพแก่แกนนำจิตอาสา และสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านหันมาให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดการขยะ การรักษาความสะอาดด้วยการจัดกิจกรรม Bigcleaning Day ของหมู่บ้านและครัวเรือน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมในครัวเรือน เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆที่อยู่ในครัวเรือนมีผลต่อการใช้ชีวิต สุขภาพร่างกายและจิตใจของคนที่อยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น แสงสว่างในตัวบ้าน กลิ่นต่างๆ ที่อยู่ในบ้าน อากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเรา การจัดวางพื้นที่ใช้สอยในบ้านที่มีผลต่อการใช้ชีวิต ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไม่สมดุลหรือผิดปกติ คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทางร่างกายและจิตใจก็คือคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน บางคนเจ็บไข้ได้ป่วยแต่หาสาเหตุไม่เจอ หรือเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน และที่น่าเป็นห่วงก็คือหลายคนอยู่อาศัยกับสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหาจนกลายเป็นความเคยชิน ไม่ได้สังเกตว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในบ้านของตัวเองกำลังย่ำแย่ลงเรื่อยๆ รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน โดยการปลูกต้นไม้ช่วยลดภาวะโลกร้อน การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ สร้างพฤติกรรมที่ดีเพื่อคนตันหยงลิมอมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำจิตอาสาลดปัญหาขยะมีความรู้ด้านการจัดการขยะ
  2. เพื่อสร้างแกนนำครัวเรือนให้มีความรู้ในจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกต้อง
  3. เพื่อเสริมสร้างวินัยการรักความสะอาด และรักสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,230
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ มีการจัดกิจกรรม Bigcleaning Dayและร่วมปลูกต้นไม้ส่งผลให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะบ้านเรือนสะอาดลดโรครักษ์สิ่งแวดล้อมคนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตดีชีวีเป็นสุข


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และชุมชน โดยนางสาวพิศมัย ยอดพรหม นวก.สาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.รพ.สต.ไอปาโจ

    วันที่ 18 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำจิตอาสา จำนวน40 คนความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ

    แกนนำจิตอาสา จำนวน40 คนเป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชนการคัดแยกขยะและนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชน ทราบ และร่วมดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชนการคัดแยกขยะ ส่งผลให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะบ้านเรือนสะอาดลดโรค

     

    40 40

    2. อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และชุมชน การคัดแยกขยะ โดยนางสาวสาลิกา หมื่นชล นวก.สาธารณสุขชำนาญการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ

    วันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำครัวเรื่อนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และชุมชน ส่งผลให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะ  บ้านเรือนสะอาด  ลดโรค  รักษ์สิ่งแวดล้อม  คนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตดีชีวีเป็นสุข

     

    1,230 1,230

    3. อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และชุมชน โดยนายพรชัย แก้วบัณฑิตย์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลควนเนียง

    วันที่ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำจิตอาสา จำนวน40 คนความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ

    แกนนำจิตอาสา จำนวน40 คนเป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชนการคัดแยกขยะและนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชน ทราบ และร่วมดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชนการคัดแยกขยะ ส่งผลให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะบ้านเรือนสะอาดลดโรค

     

    40 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข    ลดขยะ  ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ ๑. ผลการดำเนินงาน           ตามที่หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข    ลดขยะ  ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตันหยงลิมอ เป็นเงิน ๑๔๑,๖๕๐  บาท  (หนึ่งแสนสี่หมื่นหนึ่งพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)และคณะกรรมการกองทุนฯได้พิจารณาอนุมัติโครงการในการประชุมครั้งที่ ๒ / ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม  ๒๕๖๐ นั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวระหว่าง วันที่ ๑๘  สิงหาคม ๒๕๖๐    - ๓๑  สิงหาคม  ๒๕๖๐ ณ.พื้นที่ตำบลตันหยงลิมอ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบกับทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตันหยงลิมอ กำหนดให้รายงานผลความสำเร็จของแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแบบฟอร์ม (ส่วนที่ ๓) ภายในวันที่ ๑๕  กันยายน  ๒๕๖๐ นั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอขอสรุปผลการดำเนินงานดังนี้             โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข    ลดขยะ  ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือแกนนำจิตอาสาเพื่อดำเนินการลดปัญหาขยะของหมู่บ้าน จำนวน ๔๐  คน และแกนนำครัวเรือนในพื้นที่หมู่ ๑ – ๘ ตำบลตันหยงลิมอ จำนวน ๑,๒๓๐  คน  คิดเป็นร้อยละ  ๖๕ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มี นางสาวสาลิกา  หมื่นชล ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรมหลัก คือการสร้างแกนนำจิตอาสาเพื่อดำเนินการลดปัญหาขยะของหมู่บ้าน ช่วยให้หมู่บ้านมีการบริหารจัดการขยะของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ ด้านการคัดแยกขยะ การจัดทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพแก่แกนนำจิตอาสา และสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านหันมาให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดการขยะ การรักษาความสะอาดด้วยการจัดกิจกรรม Bigcleaning Day ของหมู่บ้านและครัวเรือน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมในครัวเรือน รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน โดยการปลูกต้นไม้ช่วยลดภาวะโลกร้อนการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ สร้างพฤติกรรมที่ดีเพื่อคนตันหยงลิมอมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข  โดยมีนางสาวพิสมัย  ยอดพรหม  ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติ นวมินทราชินี ไอปาโจ  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส และนายพรชัย    แก้วบัณฑิตย์  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลควนเนียง  อำเภอควนเนียง  จังหวัดสงขลา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติทั้งสิ้น จำนวน ๑๔๑,๖๕๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นหนึ่งพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)  ใช้จ่ายไปจำนวน ๑๔๑,๔๐๐  บาท  (หนึ่งแสนสี่หมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) โดยใช้จ่ายเป็นเงินค่า อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำจิตอาสาลดปัญหาขยะตำบลตันหยงลิมอ           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจิตอาสา ๒๕ บาท  X ๔  มื้อ  X ๔๐ คน เป็นเงิน      ๔,๐๐๐  บาท           - ค่าอาหารกลางวันจิตอาสา๕๐ บาท  X ๒  มื้อ  X ๔๐ คน         เป็นเงิน      ๔,๐๐๐  บาท           - ค่าวิทยากรอบรม  ๖๐๐ บาท X  ๙ ชม.                 เป็นเงิน      ๕,๔๐๐  บาท           - ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดอบรม                 เป็นเงิน      ๔,๒๘๐  บาท


    อบรมเชิงปฏิบัติการ/ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอบรม ๒๕ บาท  X ๒  มื้อ  X ๑,๒๓๐  คน เป็นเงิน    ๖๑,๕๐๐  บาท           - ค่าอาหารกลางวันอบรม ๕๐ บาท  X ๑  มื้อ  X ๑,๒๓๐  คน เป็นเงิน    ๖๑,๕๐๐  บาท ค่าไวนิลป้ายโครงการ       ๗๒๐  บาท

    จากการดำเนินงานพบว่า แกนนำจิตอาสาเพื่อดำเนินการลดปัญหาขยะของหมู่บ้าน จำนวน ๔๐  คน และแกนนำครัวเรือนในพื้นที่หมู่ ๑ – ๘ ตำบลตันหยงลิมอ จำนวน ๑,๒๓๐  คน ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเป็นอย่างดีส่งผลให้ผลผลิต และผลลัพธ์ที่โครงการคาดหวัง บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่กำหนด

    ผลผลิต(Output) ที่เกิดขึ้น แกนนำจิตอาสาเพื่อดำเนินการลดปัญหาขยะของหมู่บ้าน จำนวน ๔๐  คน และแกนนำครัวเรือนในพื้นที่หมู่ ๑ – ๘ ตำบลตันหยงลิมอ จำนวน ๑,๒๓๐  คน คิดเป็นร้อยละ  ๖๕ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ได้รับความรู้เรื่องการจัดการขยะ  รวมทั้งจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและชุมชน เห็นความสำคัญกับการรักความสะอาด และรักสิ่งแวดล้อมโดยเข้าร่วมกิจกรรม  Bigcleaning Day

    ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้น แกนนำจิตอาสาและประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ มีกิจกรรม Bigcleaning Day ส่งผลให้เป็นหมู่บ้านปลอดขยะ  บ้านเรือนสะอาด  ลดโรค และร่วมปลูกต้นไม้  รักษ์สิ่งแวดล้อม  คนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตดีชีวีเป็นสุข

    ๒. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด         ๒.๑ การบรรลุตามวัตถุประสงค์ X  บรรลุตามวัตถุประสงค์   ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์  เพราะ ............................................................................................................         ๒.๒ จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้         ๒.๒.๑  แกนนำจิตอาสา พื้นที่หมู่ ๑ – ๘  จำนวน ๔๐  คน
            ๒.๒.๒. แกนนำครัวเรือนพื้นที่หมู่ ๑ – ๘  จำนวน ๑,๒๓๐ คน

    ๓. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ๑๔๑,๖๕๐.๐๐    บาท
    งบประมาณเบิกจ่ายจริง ๑๔๑,๔๐๐.๐๐  บาท    คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๘๒ งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ       ๒๕๐.๐๐  บาท  คิดเป็นร้อยละ    ๐,๑๘ ๔. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน   ไม่มี X  มี ปัญหา/อุปสรรค (ระบุ) ..............................................-.............................................................
                    ๑. การทำงานในภาพรวมของตำบล ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานค่อนข้างมาก
                    ๒. ผู้เข้าร่วมอบรมบางพื้นที่มาสาย ไม่ตรงเวลา ส่งผลให้เวลาในการดำเนินงานคลาดเคลื่อน ๓. สถานที่จัดอบรมบางพื้นที่เปิดกว้าง  ผู้เข้ารับการอบรมไม่มีสมาธิในการฟังหรือร่วมกิจกรรม ๔. กิจกรรมภาคสนาม ยังไม่ต่อเนื่อง  กิจกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ  กิจกรรม Bigcleaning Day  บางพื้นที่ประชาชนไม่เห็นความสำคัญ ภาระหนักจึงตกอยู่ที่แกนนำ

        แนวทางการแก้ไข (ระบุ) ..............................................-.............................................................
    

                    ๑. จัดทำแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
                    ๒. กำหนดกติกาสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ชัดเจน
                    ๓. จัดหาสถานที่จัดอบรมที่มีอาณาเขต บริเวณชัดเจน ง่ายต่อการควบคุม
    ๔. นัดทำกิจกรรมภาคสนาม กิจกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน การคัดแยกขยะ  กิจกรรม Bigcleaning Day  ควรจัดต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละครั้ง


    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้แกนนำจิตอาสาลดปัญหาขยะมีความรู้ด้านการจัดการขยะ
    ตัวชี้วัด : แกนนำจิตอาสาลดปัญหาขยะตำบลตันหยงลิมอได้รับการอบรมจำนวน 40 คน

     

    2 เพื่อสร้างแกนนำครัวเรือนให้มีความรู้ในจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : 1.แกนนำครัวเรือนเข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2.แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรมสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือน จัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและชุมชนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

     

    3 เพื่อเสริมสร้างวินัยการรักความสะอาด และรักสิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : แกนนำครัวเรือนเข้าร่วมอบรมเข้าร่วมกิจกรรม Bigcleaning Dayไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1230
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,230
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำจิตอาสาลดปัญหาขยะมีความรู้ด้านการจัดการขยะ (2) เพื่อสร้างแกนนำครัวเรือนให้มีความรู้ในจัดการสิ่งแวดล้อมครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกต้อง (3) เพื่อเสริมสร้างวินัยการรักความสะอาด และรักสิ่งแวดล้อม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการคนตันหยงลิมอเป็นสุข ลดขยะ ปลอดโรค ปี ๒๕๖๐ จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 60-L8426-1-03

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวสาลิกา หมื่นชล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด