กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน
รหัสโครงการ 64-L2492-5-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 3 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภินันท์ เปาะอีเเต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) อันเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยมีรายงานการพบผู้ป่วยยืนยันสะสมของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 13,500 ราย เสียชีวิต 158 ราย ในส่วนของอำเภอเมืองนราธิวาส มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 2,806 ราย และผู้ป่วยยืนยันสะสมในตำบลโคกเคียน จำนวน 324 ราย และเสียชีวิต 8 ราย ซึ่งนับว่าพบผู้ป่วยมากอยู่ในอันดับต้นๆ ของอำเภอเมืองนราธิวาส อีกทั้งยังพบผู้ป่วยรายใหม่และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจากศูนย์ EOC อำเภอเมืองนราธิวาส วันที่ 1 กันยายน 2564)     จากความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีการเสียชีวิตในหลายพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งรวมถึงพื้นที่ตำบลโคกเคียน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 1 กันยายน 2564) มีรายงานการเสียชีวิต 158 ราย พบว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วย 7 กุล่มโรค (มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน เมื่อติดเชื้อจะทำให้อาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป) ร้อยละ 61.97 และกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อติดเชื้อจะทำให้อาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป) ร้อยละ38.03
    เพื่อให้การจัดการศพของผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙)เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมุ่งเน้นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน จึงได้จัดโครงการจัดการศพของผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมงานชุดปฏิบัติการจิตอาสาจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ได้รับความรู้อย่างถูกต้องถึงขั้นตอนการจัดการศพและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ร้อยละ 100 ของทีมงานชุดปฏิบัติการจิตอาสาจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ได้รับความรู้อย่างถูกต้องถึงขั้นตอนการจัดการศพและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

0.00
2 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน

ร้อยละ 100 ของพื้นที่ตำบลโคกเคียน มีการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) จากกรณีจัดการศพผู้เสียชีวิตฯ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 99,850.00 0 0.00
15 ก.ย. 64 - 16 ธ.ค. 64 ฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) 20 15,710.00 -
15 ก.ย. 64 - 16 ต.ค. 64 การจัดการศพ การเคลื่อนย้ายศพ การเผาศพ และการฝังศพ ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน 20 84,140.00 -
  1. ฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) จำนวน 2 ชุดๆ ละ 6 คน เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมโรค จำนวน 1 คน และพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน (รถกู้ชีพ) จำนวน 7 คน รวม 20 คน

  2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดการศพ การเคลื่อนย้ายศพ การเผาศพ และการฝังศพ ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

  3. จัดเตรียมรถพยาบาลฉุกเฉิน (รถกู้ชีพ) เพื่อใช้ในภารกิจรับส่งศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) นับตั้งแต่สถานที่เสียชีวิต จนเสร็จสิ้นขั้นตอนการจัดการศพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีมงานชุดปฏิบัติการจิตอาสาจัดการศพกรณีเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ได้รับความรู้อย่างถูกต้องถึงขั้นตอนการจัดการศพและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

  2. พื้นที่ตำบลโคกเคียน มีการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) จากกรณีจัดการศพผู้เสียชีวิตฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2564 09:17 น.