กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน
รหัสโครงการ 64-L2492-5-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 6 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 99,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภินันท์ เปาะอีเเต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกพื้นที่ ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 นั้น เห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น บุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดนราธิวาสอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Nomal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อในตำบลโคกเคียน จำนวน 395 ราย ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน มีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย ( Community Isolation ) และ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR ในกรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกัน ควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน ขึ้น เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการได้รับความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน

ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการได้รับความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน

0.00
2 เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลตนเอง ป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

ร้อยละ 90 ของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลตนเอง  ป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 99,910.00 0 0.00
20 ก.ย. 64 - 20 ธ.ค. 64 1. อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้กับแกนนำทางสุขภาพในชุมชนพื้นที่ตำบลโคกเคียน 300 5,750.00 -
20 ก.ย. 64 - 20 ธ.ค. 64 การคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ให้บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน 300 94,160.00 -
  1. อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้กับแกนนำทางสุขภาพในชุมชนพื้นที่ตำบลโคกเคียน ทุกหมู่บ้าน เพื่อนำไปดำเนินการตามโครงการ

  2. องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่

  3. ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิด เพื่อกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK จากแกนนำทางสุขภาพในชุมชน

  4. ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ให้บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ในพื้นที่ตำบลโคกเคียน

  5. จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ได้รับการคัดกรองด้วย ATK เช่น ชื่อ สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันที่ตรวจ เป็นต้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการควบคุมโรคต่อไป

  6. จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ผ่านแกนนำทางสุขภาพในชุมชน ทุกหมู่บ้านๆ ละ 5 คน โดยรับผิดชอบสร้างความตระหนัก ให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ ที่พักอาศัย และติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง

  7. มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ หรือมีความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้งกับแกนนำทางสุขภาพในชุมชน เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ

  8. หากมีพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะพิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบเพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงการได้รับความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน

  2. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลตนเอง ป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2564 11:22 น.