กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เขาเจียกร่วมใจป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนภาพรรณ ศรีลมุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ค่าดัชนีบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย(HI)
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข การติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี และการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนมาตรการสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ส่วนการควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคที่ได้ผลในขณะนี้ ยังคงเป็นการกำจัดยุงพาหะนำโรค พื้นที่ตำบลเขาเจียก มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีกระจายในหลายหมู่บ้าน สถานการณ์โรค 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2560 – 2564 อัตราป่วย 412.20 ,114.05 , 291.48 และ 141.16 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การดำเนินการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ อสม. และผู้นำชุมชน ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะการร่วมดูแลสภาพแวดล้อมทั้งภายในและบริเวณบ้านเรือนและชุมชน ของตนเองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index

25.00 8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,400.00 0 0.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และควบคุมโรค 0 38,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมี่ค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
  2. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังจากผู้ป่วยรายแรก ในหมู่บ้านเดียวกัน
  3. ประชาชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 00:00 น.