กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เขาเจียกร่วมใจป้องกันไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

รพ.สต.บ้านหัวถนน

1.นายวรเวทย์ สุวรรณ์ จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน 089-7328419
2.นางขนิษฐา สุวรรณ์ จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน 081-8968858
3.นางสุคนธ์ ชูเอียด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางสรินญา สามนตราช ประธาน อสม. ต.เขาเจียก
5.นายจิตร ทองสุวรรณ รองประธาน อสม.ต.เขาเจียก

ตำบลเขาเจียก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ค่าดัชนีบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย(HI)

 

30.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข การติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี และการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนมาตรการสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ส่วนการควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคที่ได้ผลในขณะนี้ ยังคงเป็นการกำจัดยุงพาหะนำโรค
พื้นที่ตำบลเขาเจียก มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีกระจายในหลายหมู่บ้าน สถานการณ์โรค 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2560 – 2564 อัตราป่วย 412.20 ,114.05 , 291.48 และ 141.16 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การดำเนินการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ อสม. และผู้นำชุมชน ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะการร่วมดูแลสภาพแวดล้อมทั้งภายในและบริเวณบ้านเรือนและชุมชน ของตนเองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index

25.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน วัด ชุมชน ร่วมวางแผนดำเนินงาน 2 ประชุมเครือข่าย เพื่อกำหนดแนวทางและรูปแบบการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 3 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์  เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นประจำ 4 จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ในเขตพื้นที่ชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยการส่วนร่วมของครือข่าย
5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค โดยการ สนับสนุน ทรายอะเบทและให้ครัวเรือนเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง ปลูกพืชไล่ยุง  เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง 6 ดำเนินงานควบคุมโรค เมื่อเกิดโรคในพื้นที่โดยการ
7 พ่นเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย โดยทีมควบคุมโรคของตำบล 8 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในรัศมี 100 เมตร โดย อสม. 9 ใช้ทรายอะเบท ในภาชนะน้ำใช้ในครัวเรือน 10 อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลายของบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบ พร้อมวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด และสถานบริการรายงานสถานการณ์โรค เพื่อคืนข้อมูลแก่ชุมชนทุกเดือน 11 คืนข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายแก่ผู้นำชุมชนในวันประชุมประจำเดือนกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 12 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนิน วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป

งบประมาณจัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และควบคุมโรค  จำนวน 38,400  บาท ค่าใช้จ่ายดังนี้ -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 110 คน ๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน  11,000 บาท -  ค่าทรายสำหรับกำจัดลูกน้ำ จำนวน 5  ถัง ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท -  จัดซื้อโลชั่นทากันยุง จำนวน 300 ซอง ๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 38,400 บาท (สามหมื่นแปดพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าดัชนีบ้านที่พบลูกน้ำ น้อยกว่าร้อยละ 10 ทุกหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมี่ค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
2. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายที่ 2 ภายใน 28 วัน หลังจากผู้ป่วยรายแรก ในหมู่บ้านเดียวกัน
3. ประชาชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก


>