กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายเอนก กลิ่นรส

ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-05 เลขที่ข้อตกลง 2/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2565-L3351-01-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 พฤศจิกายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 74,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับับที่ 12 มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10-11 โดยยึดหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "คนเป็นศูนย์กลาง" และ "สมดุลพัฒนา" ในทุกมิติได้ให้ความสำคัญกับการบริโภคไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า "ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานและหลอดเลือดในสมองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มแรงงานและลดรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข" เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องพฤติกรรมการบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพฤติกรรมการกินไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ขาดการออกกำลังกาย โดยที่ประชาชนจำนวนมากยังไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลันหรืออาจเป็นความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขได้เช่นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดตีบหรือแตกโรคไตวายหรือตาบอด สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบในปี 2564 มีความชุก 187.45 / พันประชากร และ 44.26 / พันประชากรในปีงบประมาณ 2565 มีกลุ่มประชากรเป้าหมาย 1,300 รายโดยเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวานด้วยวิธีการเจาะปลายนิ้วและตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงายจึงจัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการเพื่อตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงซึ่งหากตรวจคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยงจะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเพื่อลดความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำแล้วยังเสี่ยงได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
  3. เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 1.95

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 100 คน
  3. การตรวจคัดกรองซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองซ้ำพบแพทย์
  4. การเยี่ยมบ้าน/ติดตามประเมิลผล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้และได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 98
  • กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำ แล้วยังเสี่ยง ได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 100
  • อัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 1.95

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต

วันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตารางการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยจัดบริการในชุมชน รพ.สต.บ้านทุ่งยาว 1.วันที่ 11 ต.ค.64 สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ผู้รับผิดชอบหลัก นส.ณัฎฐณิชา สมจิตร   วันที่ 11 ต.ค.64 สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ผู้รับผิดชอบหลัก นางกิตติยา พรหมปาน   วันที่ 11 ต.ค.64 บ้าน อสม.หนูอั้น ไข่ทอง ผู้รับผิดชอบหลัก นายเอนก กลิ่นรส 2.วันที่ 12 ต.ค.64 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 9 ผู้รับผิดชอบหลัก นส.ณัฎฐณิชา สมจิตร   วันที่ 12 ต.ค.64 บ้าน อสม.ปรียา จิตรเอียด ผู้รับผิดชอบหลัก นางกิตติยา พรหมปาน   วันที่ 12 ต.ค.64 บ้าน อสม.จิตติมาวดี ยังน้อย ผู้รับผิดชอบหลัก นายเอนก กลิ่นรส 3.วันที่ 14 ต.ค.64 รพ.สต.บ้านทุ่งยาว ผู้รับผิดชอบหลัก นส.ณัฎฐณิชา สมจิตร   วันที่ 14 ต.ค.64 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ผู้รับผิดชอบหลัก นางกิตติยา พรหมปาน   วันที่ 14 ต.ค.64 บ้านนายสายัณห์ ขวัญกลับ ผู้รับผิดชอบหลัก นายเอนก กลิ่นรส 4.วันที่ 15 ต.ค.64 บ้านนายเที่ยง วงศ์ชู ผู้รับผิดชอบหลัก นส.ณัฎฐณิชา สมจิตร   วันที่ 15 ต.ค.64 บ้านนายช่วง สงนวล ผู้รับผิดชอบหลัก นางกิตติยา พรหมปาน   วันที่ 15 ต.ค.64 บ้านอสม.สัญญา เพิ่มบุญ ผู้รับผิดชอบหลัก นายเอนก กลิ่นรส   วันที่ 15 ต.ค.64 บ้านอสม.กันตยา พงษ์อิสโร ผู้รับผิดชอบหลัก นายเอนก กลิ่นรส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปแบบการจัดบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านทุ่งยาว จัดให้บริการเป็นจุดๆ เพื่อให้ประชาชนสะดวก สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นตามตารางกำจัดบริการข้างบนที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ความรับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย จำนวน 1,3000 คน พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 98.87

 

0 0

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 100 คน

วันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การปรับเปลี่ยนพฟติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 100 คน ที่มีความเสี่ยงสูงและสมัครใจเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคNCDS(No communicable diseases) ได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับโลก เนื่องด้วยกลุ่มโรคดังกล่าวคร่าชีวิตและบั่นทอนสุขภาพของผู้คน และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยโรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การผลักดันให้เกิดคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) ในสถานบริการสาธารณสุขระดับ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก  3อ. (อ.ออกกำลังกาย อ.อาหาร อ.อารมณ์) 2ส. (ส.สูบบุหรี่ ส.สุรา)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 100 คน ที่มีความเสี่ยงสูงและสมัครใจเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครบทุกคนและจากการคัดกรองน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำ พบว่าน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยง ลดลงร้อยละ 63.69 ส่วนความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงลดลง ร้อยละ 59.80 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ดำเนินการคลินิกไร้พุงมาอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

3. การตรวจคัดกรองซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองซ้ำพบแพทย์

วันที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมติดตามและคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งต่อไปยังแพทยื และดูการเปลี่ยนแปลงพร้อมให้ความรู้ปรังปรุงแก้ไข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่่ผ่านกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แล้วการตรวจคัดกรองซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองซ้ำพบแพทยื พบว่า ผู้เป็นโรคเบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 0.15 เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ร้อยละ 0.23 ซึ่งอัตราป่วยต่ำกว่าเกรฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้านสาธารณสุขที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังดีกว่าภาพรวมของประเท

 

0 0

4. การเยี่ยมบ้าน/ติดตามประเมิลผล

วันที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเยี่ยมบ้านของกลุ่มเสี่ยงสูงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากสถานการณ์การรับาดของโรคโควิด 19

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีติดตามผลโดยการเยี่ยมบ้านของกลุ่มเสี่ยงสูงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากสถานการณ์การรับาดของโรคโควิด 19

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สำเร็จผลตามเป้าหมายที่กำหนด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
ตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
87.00 90.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำแล้วยังเสี่ยงได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำแล้วยังเสี่ยงได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
89.00 100.00

 

3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 1.95
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 1.95
9.80 6.50

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำแล้วยังเสี่ยงได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน (3) เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วย โรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 1.95

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต (2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง 100 คน (3) การตรวจคัดกรองซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองซ้ำพบแพทย์ (4) การเยี่ยมบ้าน/ติดตามประเมิลผล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายเอนก กลิ่นรส )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด