โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีวิถีนิวนอร์มอล (ชมรมอสม.หมู่ที่ 9)
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีวิถีนิวนอร์มอล (ชมรมอสม.หมู่ที่ 9) |
รหัสโครงการ | 65-L3346-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอสม.หมู่ที่ 9 |
วันที่อนุมัติ | 14 มกราคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | 19,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางทวิพร สร้อยทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าร้อยละ 80 ของประชากรในหมู่บ้านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ชอบออกกำลังกาย การบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารปนเปื้อน ชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,มัน,เค็ม อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในอนาคต อีกทั้งในขณะนี้ก็ได้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส โควิด 19 ทำให้การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมด้านสุขภาพมีน้อยลง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ อสม. ซึ่งเป็นแกนนำด้านสุขภาพและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ประชาชนกลุ่มปกติเป็นกลุ่มเสี่ยง/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคหรือป่วย และประชาชนกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ต้องดูแลและส่งเสริมการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อโรค ลดการแพร่ระบาดในพื้นที่ ควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพในทุกด้าน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อคนในครอบครัว อาทิเรื่อง การออกกำลังกายตามความถนัดและเหมาะสมกับวัย การบริโภคอาหาร การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง เน้นลดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวด้วยวิถีชีวิตแบบใหม่อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อให้ประชาชนในเขตหมู่ที่ 9 ที่มีความเสี่ยงได้มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง 2.ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 3.ส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษตกค้างในปริมาณที่เพียงพอ 1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร/การออกกำลังกายที่ถนัดและเหมาะสม 2.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคอย่างน้อย 5 ชนิด |
50.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | กิจกรรมตู้เย็นข้างบ้าน | 50 | 5,650.00 | - | ||
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ | 50 | 9,100.00 | - | ||
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | กินเป็นเน้นผัก | 50 | 3,150.00 | - | ||
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ค. 66 | เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลสุขภาพ | 50 | 1,550.00 | - | ||
รวม | 200 | 19,450.00 | 0 | 0.00 |
1.เสนอโครงการเพื่อเข้าแผนกองทุน 2.จัดทำแบบเสนอโครงการและจัดทำบันทึกข้อตกลง 3.ดำเนินงานตามโครงการ 4.ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลส่งกลับมายังกองทุน
1.ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคติดต่อรายใหม่ลดลง 2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อข้อมูลไปยัง รพ.สต.บ้านตลิ่งชันเพื่อตรวจสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 09:59 น.