กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีวิถีนิวนอร์มอล (ชมรมอสม.หมู่ที่ 9)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรมอสม.หมู่ที่ 9

1.นางทวิพร สร้อยทอง
2.นางปิยวรรณ เอียดรักษ์
3.นางสมทรง เพ็งคลิ้ง
4.นางนัยนา แป้นเพ็ง
5.นางดรุณี คงเหลือ

หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าร้อยละ 80 ของประชากรในหมู่บ้านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ชอบออกกำลังกาย การบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารปนเปื้อน ชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,มัน,เค็ม อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในอนาคต อีกทั้งในขณะนี้ก็ได้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส โควิด 19 ทำให้การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมด้านสุขภาพมีน้อยลง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ อสม. ซึ่งเป็นแกนนำด้านสุขภาพและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ประชาชนกลุ่มปกติเป็นกลุ่มเสี่ยง/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคหรือป่วย และประชาชนกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ต้องดูแลและส่งเสริมการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อโรค ลดการแพร่ระบาดในพื้นที่ ควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพในทุกด้าน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อคนในครอบครัว อาทิเรื่อง การออกกำลังกายตามความถนัดและเหมาะสมกับวัย การบริโภคอาหาร การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง เน้นลดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวด้วยวิถีชีวิตแบบใหม่อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่หมู่ 9 ที่มีความเสี่ยงได้มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและโรคติดต่อที่ป้องกันได้ /ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร/การออกกำลังกายที่ถนัดและเหมาะสม

0.00
2 2. ส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษตกค้างในปริมาณที่เพียงพอ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคอย่างน้อย 5 ชนิด

0.00

1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่หมู่ 9 ที่มีความเสี่ยงได้มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและโรคติดต่อที่ป้องกันได
2. ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอายุ
3. ส่งเสริมใหประชาชนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษตกค้างในปริมาณที่เพียงพอ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25.- = 1,250.-
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- = 900.-
  • ค่าป้ายโครงการ 1x3 ม.@150.- = 450.-
  • ค่าแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 ml. จำนวน 50 คนๆละ 80.- = 4,000.-
  • หน้ากากอนามัย 50 คนๆละ 2 แพ็คๆละ 25.- = 2,500.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค/การออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้โรคเรื้อรังและโรคติดต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตู้เย็นข้างบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตู้เย็นข้างบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 25 .- = 1,250.-
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- = 900.-
  • ค่าต้นกล้าพันธุ์ผัก 50 คนๆละ 10 ต้นๆละ 2.- = 1,000.-
  • ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก 50 คนๆละ 2 ห่อๆละ 25.- = 2,500.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการปลูกผัก
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีผักไว้ทานเองในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5650.00

กิจกรรมที่ 3 กินเป็นเน้นผัก

ชื่อกิจกรรม
กินเป็นเน้นผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.-= 900.-
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 25.- = 1,250.-
  • ค่าวัสดุการทำเมนูสุขภาพ = 1,000.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการปลูกผัก
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีผักไว้ทานเองในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 25.- = 1,250.-
  • ค่าจัดทำเอกสารจำนวน 2 เล่มๆละ150.- = 300.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค/การออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • มีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลงร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,450.00 บาท

หมายเหตุ :
***หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายที่ตนเองถนัดและเหมาะสม
2.ประชาชนร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่มาจากเชื้อโรคและสามารถป้องกันตนเองได้ และมีการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) อย่างมีความสุข
3.ประชาชนที่ข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ


>