กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 65-L5281-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤศจิกายน 2021 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2022
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสถาพร สุวรรณมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒0๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒0๑๙ (COVID-๑๙))เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 และมีการระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็ว โดยจังหวัดสตูล เป็นหนึ่งในพื้นที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-2019) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดสตูล ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน ๒๕๖๔ รายงานว่าจังหวัดสตูล
    มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 5,996 ราย ซึ่งมาตรการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างหนึ่ง คือ การกักกันผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยการกักตัวเพื่อสังเกตอาการจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อโรคและปัจจุบันพบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) เกิดขึ้นภายในครอบครัวเป็นส่วนมาก เนื่องจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่กักตัว จากสถานการณ์ดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเงื่อนเวลา และจังหวัดสตูล ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งสถานที่กักกัน (LQ) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ที่กักกัน และให้บริการผู้ถูกกักกัน รวมทั้งการเบิกจ่ายค่าอาหารได้วันละไม่เกิน 3 มื้อๆ ละไม่เกิน 50 บาทต่อคน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (19) และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67 (3)
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ได้ทันถ่วงที

 

0.00
2 เพื่อเตรียมความพร้อมสถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) เพื่อกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่มีความพร้อมและสามารถรองรับผู้สัมผัสเสียงสูงได้ทันที

 

0.00
3 เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน

 

0.00
4 เพื่อให้อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสียงสูงในพื้นที่ลดลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
17 พ.ย. 64 เฝ้าระวังประชาชนตำบลทุ่งนุ้ยที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 0 100,000.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
        - วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการ
          ดำเนินงานโครงการ
        - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
        - ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
        - จัดสถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการบุคคลที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง     - จัดหาพัสดุในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)     - สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ได้ทันถ่วงที   2. สถานที่กักกันโรค (Local Quarantine) เพื่อกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ มีความพร้อมและสามารถรองรับผู้สัมผัสเสียงสูงได้ทันที   3. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับความช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาการกักตัว 14 วัน   4. อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสียงสูงในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2021 09:45 น.