กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินดี จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรงด้วยผักผลไม้
รหัสโครงการ 013/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กันยายน 2560 - 16 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,009.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยเด็กเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตสุขภาพในวัยเด็กเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพในวัยผู้ใหญ่การกินอาหารในวัยเด็กจึงเป็นการสร้างต้นทุนชีวิตที่สำคัญหากเด็กได้กินอาหารสมวัยเพียงพอปลอดภัยเด็กก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยและเป็นคนที่มีคุณภาพของประเทศชาติ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะหมู่ที่3ตำบลปุโรงอำเภอกรงปินังจังหวัดยะลาได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมโภชนาการในเด็กปฐมวัยโดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงการประโยชน์และโทษของการไม่ทานผักและผลไม้เพราะเด็กวัยเรียนรู้ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอและรูปแบบอาหารที่ไม่ซ้ำซากเพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากบริโภคอาหารประเภทผักผลไม้มากขึ้นจึงได้ทำโครงการกินดีจิตแจ่มใสร่างกายแข็งแรงด้วยผักผลไม้เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์กับเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีมีการเติบโตเต็มศักยภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะ

 

2 2.เพื่อลดปัญหาเด็กไม่ยอมทานผักผลไม้

 

3 3.เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก

 

4 4 กลุ่มเป้าหมายสามารถแปรรูปแบบอาหารประเภทผัก ผลไม้ได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี 2.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.3 ประสานงานกับคณะกรรมการศูนย์ฯเพื่อเตรียมสถานที่ เด็ก และผู้ปกครองในกลุ่มเป้าหมายตามวันเวลาที่ออก 2.4 ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน 2.5 ดำเนินการตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดปัญหาเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ยอมทานผักผลไม้
  2. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการทานผักผลไม้ในเด็กปฐมวัย
  3. ครู แม่ครัวประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของการไม่ทานผักและผลไม้ 4.เด็กได้รับสารอาหารอย่างถูกต้องครบทั้ง 5 หมู่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2560 10:49 น.