กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5268-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 74,714.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประทีป จันทบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่มียุงเป็นพาหะถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ อาทิเช่น
โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุนกุนย่า) โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้ซิกา เป็นต้น
ซึ่งโรคที่มียุงเป็นพาหะที่สำคัญ คือ ไข้เลือดออก มีรายงานพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี จากสถานการณ์ โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS)198 ราย คิดเป็น 0.08 เท่า เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา อัตราป่วย 3.97 ต่อประชาชนแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น อัตราป่วยตายร้อยละ 0.51 สำหรับจังหวัดสงขลาพบอัตราป่วยรองลงมาเป็นอันดับสองในพื้นที่เขต 12 โดยมีอัตราป่วย 4.74 ต่อประชากรแสนคน (68 ราย) ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563
ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางเทศบาลเมืองม่วงงามได้รับแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตามการวินิจฉัย ทุกประเภทจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จำนวน 8 ราย โดยพบผู้ป่วยจำแนกรายหมู่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านบ่อเตี้ย จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 3 บ้านม่วงงาม 5 ราย และหมู่ที่ 8 บ้านม่วงพุ่ม จำนวน 2 ราย

เนื่องจากเขตพื้นที่ตำบลม่วงงามมีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนตกๆ หยุด ๆ ทั้งปี เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงเป็นอย่างมากและสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย เช่น บางหมู่บ้านมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและบริเวณที่อยู่อาศัยมีกองขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค ดังนั้นการเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างเนื่อง และดำเนินงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง จึงมีความสำคัญถือเป็นการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เทศบาลเมืองม่วงงามจึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยครอบคลุมกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะสามารถดำเนินการด้วยโครงการนี้ร่วมกันได้ และอาศัยการมีส่วนร่วมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ เพื่อป้องกันความสูญเสียในชีวิตของประชาชนในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองม่วงงามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคที่มียุงเป็นพาหะ
  1. ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อป่วยเป็นโรคที่มียุง เป็นพาหะ
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในชุมชน
  1. ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งด้วยวิธีทางกายภาพ และเคมี
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้ง โดยการจำจัดยุงพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  1. ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในการควบคุมโรค
  2. ความทันเวลาในการพ่นเคมี
  3. ความสำเร็จในการควบคุมโรค
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 864.00 -
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ 0 6,000.00 -
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในชุมชนและป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ 0 67,850.00 -
รวม 0 74,714.00 0 0.00
  1. ทบทวนปัญหาการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ ปีงบประมาณ 2565 เพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานกองคลังเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  4. ดำเนินงานโครงการฯ ตามปฏิทินการปฏิบัติงาน โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 4.1 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันและตระหนักถึงอันตรายของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
    4.2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ 4.3 กิจกรรมพ่นเคมีในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน ทั้ง 2 ภาค 4.4 กิจกรรมพ่นเคมีให้กับบ้านผู้ป่วยและในบริเวณรัศมี 100 เมตร กรณีมีการระบาด
  5. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลม่วงงามได้อย่างทันเวลาและสามารถหยุดการระบาดได้
  2. ไม่พบการสูญเสียในระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ
  3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลม่วงงาม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564 00:00 น.