กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

เทศบาลเมืองม่วงงาม

ตำบลม่วงงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคที่มียุงเป็นพาหะถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ อาทิเช่น
โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุนกุนย่า) โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้ซิกา เป็นต้น
ซึ่งโรคที่มียุงเป็นพาหะที่สำคัญ คือ ไข้เลือดออก มีรายงานพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี จากสถานการณ์
โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) สำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue hemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS)198 ราย คิดเป็น 0.08 เท่า เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา อัตราป่วย 3.97 ต่อประชาชนแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น
อัตราป่วยตายร้อยละ 0.51 สำหรับจังหวัดสงขลาพบอัตราป่วยรองลงมาเป็นอันดับสองในพื้นที่เขต 12 โดยมีอัตราป่วย 4.74 ต่อประชากรแสนคน (68 ราย) ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563
ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางเทศบาลเมืองม่วงงามได้รับแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตามการวินิจฉัย
ทุกประเภทจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จำนวน 8 ราย โดยพบผู้ป่วยจำแนกรายหมู่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านบ่อเตี้ย จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 3 บ้านม่วงงาม 5 ราย และหมู่ที่ 8 บ้านม่วงพุ่ม จำนวน 2 ราย

เนื่องจากเขตพื้นที่ตำบลม่วงงามมีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนตกๆ หยุด ๆ ทั้งปี เอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงเป็นอย่างมากและสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย เช่น บางหมู่บ้านมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและบริเวณที่อยู่อาศัยมีกองขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค ดังนั้นการเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างเนื่อง และดำเนินงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง
จึงมีความสำคัญถือเป็นการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เทศบาลเมืองม่วงงามจึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยครอบคลุมกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะสามารถดำเนินการด้วยโครงการนี้ร่วมกันได้ และอาศัยการมีส่วนร่วมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ เพื่อป้องกันความสูญเสียในชีวิตของประชาชนในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองม่วงงามต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคที่มียุงเป็นพาหะ
  1. ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อป่วยเป็นโรคที่มียุง เป็นพาหะ
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในชุมชน
  1. ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งด้วยวิธีทางกายภาพ และเคมี
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้ง โดยการจำจัดยุงพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  1. ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในการควบคุมโรค
  2. ความทันเวลาในการพ่นเคมี
  3. ความสำเร็จในการควบคุมโรค
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้าย ขนาด 1.2 ม. X 2.4 ม. ป้ายละ 432 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 864 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
864.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในชุมชนและป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ในชุมชนและป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 3 ถัง ถังละ 3,000 บาท
    เป็นเงิน 9,000 บาท
  2. น้ำยาเคมีสำหรับพ่นกำจัดยุง ชนิดผสมน้ำ ( สารสำคัญ Deltamethrin  2 % w/w)  จำนวน 3 ขวด ขวดละ 3,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
  3. สเปรย์ฉีดกำจัดยุง ขนาดไม่ต่ำกว่า 600 ml จำนวน 30 กระป๋อง กระป๋องละ 115 บาท เป็นเงิน 3,450 บาท
  4. ถุงมือ Disposible  จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 250 บาท เป็นเงิน  250 บาท
  5. หน้ากากอนามัยป้องกันสารเคมี
    Organic Vapour Respirator Kit
    สำหรับคนพ่นเคมี จำนวน 3 ชุด ชุดละ 1,150 บาท เป็นเงิน  3,450 บาท
  6. ตลับกรอง สำหรับหน้ากากอนามัย ป้องกันสารเคมี  จำนวน 10 ชิ้น ชิ้นละ 200 บาท เป็นเงิน  2,000 บาท
  7. หน้ากาก N95 สำหรับเจ้าหน้าที่คุมงาน พ่นเคมี จำนวน 2 กล่อง (กล่องละ10ชิ้น)
    กล่องละ 350 บาท เป็นเงิน  700 บาท
  8. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าน้ำมันสำหรับผสมน้ำยาเคมี  (น้ำมันเบนซิน,น้ำมันดีเซล)
    เป็นเงิน 10,000 บาท
  9. ค่าจ้างคนพ่นเคมี บริเวณบ้านผู้ป่วยและในบริเวณรัศมี 100 เมตร จำนวน 30 ราย รายละ 2 ครั้ง โดยพ่นซ้ำอีก 7 วันจากการพ่นครั้งแรก

    ค่าจ้างคนพ่นเคมี จำนวน 30 ราย รายละ 2 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท จำนวน 1 คน
    เป็นเงิน 18,000 บาท

  10. ค่าจ้างคนพ่นเคมีในสถานศึกษา 9 แห่ง
    ก่อนเปิดภาคการศึกษาทั้ง 2 ภาค
    ภาคละ2 ครั้ง -วิทยาลัย 1 แห่ง
    -โรงเรียน จำนวน 5 โรง
    -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 3 ศูนย์
    ค่าจ้างคนพ่นหมอกควัน จำนวน 20 วัน
    วันละ 300 บาท X 2 คน
    เป็นเงิน 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67850.00

กิจกรรมที่ 3 4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คน มื้อละ 50 บาท
      จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน
      มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ
      เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท
      เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,714.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลม่วงงามได้อย่างทันเวลาและสามารถหยุดการระบาดได้
2. ไม่พบการสูญเสียในระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ
3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลม่วงงาม


>