กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกร รพ.สต.บ้านทุ่งนารี
รหัสโครงการ 2565-L3341-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพพล กองเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นายนราวุฒิ แก้วหนูนวล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลังจากได้มีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2562มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมวัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมีผลให้ให้การใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ได้แก่สารเคมีจำพวกยาฆ่าแมลง ให้รัดกุมยิ่งขึ้น และมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมีผลให้เกษตรกร หรือผู้ที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ มีความตระหนัก ระมัดระวัง ในระดับหนึ่งสำหรับในพื้นที่ชนบท การปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวยังมีการละเลยอยู่บ้างทำให้ความปลอดภัยของผู้ใช้สารเคมี และผู้บริโภคยังต้องมีการเฝ้าระวังกันเหมือนเดิม การตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกรและผู้บริโภค ยังมีความจำเป็นเพราะนอกจากเป็นการเฝ้าระวังเรื่องสารพิษตกค้างที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชนชนแล้วยังเป็นการเปรียบเทียบถึงการรับรู้ และการปฏิบัติหลังจากที่มีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2562ออกมาใช้ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารีจึงมีความจำเป็นจัดทำโครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเกษตรกรเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างของเกษตรกรและผู้บริโภค ในปี 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรู้ว่าตัวเองมีสารตกค้างในเลือดในระดับใด

เกษตรกรทุกคนทราบระดับของสารพิษตกค้างของตนเอง

1.00
2 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช.

เกษตรกรทุกคน มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีปราบตรูพืช ในระดับดี ถึงดีมาก

1.00
3 เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้สารเคมีและมาใช้สารอินทรีย์ให้ มากขึ้น

เกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 80 ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและหันมาใช้สารอินทรีย์

1.00
4 การส่งต่อ กรณีพบสารพิษตกค้างในระดับอันตราย

จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการส่งต่อหรือยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
2 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกร 0 15,000.00 -
2 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 จัดทำแผนตรวจหาสารพิษตกค้างในระดับหมู่บ้าน แปรผลการตรวจ และแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 0 0.00 -
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 ให้ความรู้ และส่งต่อกรณีผู้มีสารพิษตกค้างระดับอันตราย 0 0.00 -
  1. ให้ความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ๒. เจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้าง
          3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์.ในการตรวจ       4. รายงานผลการตรวจเลือดให้เกษตรกร       5. ส่งผู้ที่มีความเสี่ยงเข้ารักการรักษาต่อตามระบบการส่งต่อ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1เกษตรกรและประชาชนทั่วได้รับการตรวจเลือด และรู้ผลมีสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับใด
2เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช. 3เกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันตัวเองหากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2564 00:00 น.