กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรำกลองยาวส่งเสริมการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ L5300-65-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมกลองยาวบ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำแลง ชุมชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเพิ่มประชากร ผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว นอกจากจากมีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ และสังคมแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอีกด้วย การสร้างเสริมสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพดี จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ และยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพให้แก่ประเทศได้ ฉะนั้นการเสริมสร้างสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังกายของผู้สูงอายุก็ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดสาเหตุและความเสี่ยงต่อการมีโรคภัยไข้เจ็บ ลดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดคิดไว้ล่วงหน้าได้เป็นอย่างมาก และยังช่วยให้ผู้สูงอายุนั้นสามารถทำงาน และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ดี ร่างกายก็จะมีความสมบูรณ์ แข็งแรง เป็นผลให้จิตใจสบาย หากจิตใจกับร่างกายมีความสัมพันธ์กันในทางที่ดีก็ส่งผลให้สภาวะสุขภาพดีขึ้นไปด้วย ประกอบกับหากผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มีความใส่ใจในสุขภาพที่ดี และมีการออกกำลังกายเป็นประจำก็จะสามารถช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นได้ ร่างกายก็จะกระปรี้กระเปร่า ลดอาการซึมเศร้า และลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่เสี่ยงได้ การรำกลองยาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย และการรำกลองยาวยังสร้างบรรยากาศ สีสัน ความบันเทิงแก่คนรอบข้าง และมีการรำวงเป็นกิจกรรมที่เหมาะ เพราะสามารถยกแขนก้าวขาออกท่าทางได้ตามความต้องการ รำวงทำให้ผู้สูงอายุได้สนุกสนาน สามัคคีกลมเกลียว สภาพจิตใจ สุขภาพร่างกายก็ดีขึ้น ในเมื่อสุขภาพคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุหากสุขภาพไม่ดีมักไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน การนำทุนและวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในชุมชนคือวงกลองยาว มาประยุกต์เข้ากับการออกกำลังกาย ที่เข้ามาบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างลงตัว โครงการนี้ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย เกิดเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจในศักยภาพของตนเอง และทำให้ผู้สูงอายุเกิดความตระหนักว่าการที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุต้องเริ่มดูแลตัวเองโดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ชมรมกลองยาวบ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการรำกลองยาวส่งเสริมการออกกำลังกาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

35.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,260.00 3 16,757.00
1 - 30 ม.ค. 65 ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ) 0 500.00 500.00
1 ก.พ. 65 - 15 เม.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว 0 16,260.00 15,757.00
16 - 30 เม.ย. 65 ประชุมสรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ 0 500.00 500.00

1.ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ) 2.อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว   1. การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)   2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ   3. การอบอุ่นร่างกายด้วยท่ารำกลองยาว   4. ขั้นตอนการรำกลองยาว การแสดงท่ารำเพื่อการออกกำลังกาย   5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังการรำกลองยาว โดยการลดระดับความหนักของท่ารำให้ช้าลง วิทยากร : นายปรีชา หนูศิริ 3. ออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน ระยะเวลาในการรำกลองยาว อยู่ระหว่าง 30-60 นาที ต่อเนื่องกันหรือขึ้นอยู่กับอิริยาบถ ระดับความหนักของจังหวะ และท่าทางของการออกกำลังกายจากการรำกลองยาว 4. ประชุมสรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ประชาชนมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรม ผลลัพธ์ 1.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงจากการรำกลองยาว ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2.ทำให้ประชาชนมีความตระหนักถึงคุณค่าของการรำกลองยาวเพื่อออกกำลังกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564 10:30 น.