กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการขยับเท่ากับออกกำลังกาย อบต.ท่าบอน
รหัสโครงการ 2565-L5221-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 พฤศจิกายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 10,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
28.00
2 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง แต่จากข้อมูลของ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายงานผลทบทวน ผลกระทบจากการระบาด ของโรคโควิด 19 ต่อการมีกิจกรรมทางกาย พบว่า ประชากรไทย ส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.3 ในปี พ.ศ. 2555 เป็น ร้อยละ 74.6 ในปี พ.ศ. 2562 ก่อนจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนไทยมีกิจกรรมทางกาย 74.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อเทียบกับ 5-6 ปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อโควิดระบาด ทำให้มีข้อจำกัดมากขึ้น คนไทยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวน้อยลงเหลือเพียง 55 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสถานการณ์เป็นแบบนี้ต่อไป อาจทำให้คนไทยสุขภาพไม่ดีในระยะยาว เสี่ยงเป็นโรค NCDs เพิ่มขึ้น แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความรู้ความเข้าใจว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานโรคได้และข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้ดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ โดยการสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ในกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 15 - 59 ปี เรื่อง พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 13เขตสุขภาพ และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข 76 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนวัยทำงานส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการออกกำลังกายสูงสุด คือ เรื่อง ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย เมื่อเหนื่อยจากการทำงานแล้ว ตอบว่า เห็นด้วยเฉลี่ย 29.3 % รองลงมา คือการออกกำลังกายหรือไม่ออกกำลังกายก็ส่งผลต่อสุขภาพไม่ต่างกันตอบว่าเห็นด้วย 24.9 %ในด้านความรู้ความเข้าใจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจ ในระดับดีมาก
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในวัยทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพ ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การส่งเสริมกีฬาและสุขภาพเป็นภารกิจหน้าที่ประการหนึ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(10) พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตาม(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของพนักงาน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการขยับเท่ากับออกกำลังกาย อบต.ท่าบอน ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคหรือลดความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ สุขภาพจิตดี สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

28.00 35.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

10.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,750.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 65 เตรียมการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ขยับร่างกายลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งทำงาน(Office Syndrome) 0 0.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 พ.ย. 65 ขยับร่างกายสร้างสุขภาพกายแข็งแรง และจิตที่สดใส 0 10,200.00 -
1 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ออกกำลังกายต่อเนื่องที่บ้านเพื่อสุขภาพที่ดี 0 550.00 -
4 มี.ค. 65 - 30 พ.ย. 65 ขยับร่างกายด้วยกิจกรรมการพัฒนา 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้บริหาร และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย 2.ผู้บริหาร และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 3.ผู้บริหาร และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2564 11:56 น.