กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกาย จิต ด้วยวิถี "Line Dance" ตำบลฝาละมี
รหัสโครงการ 65-l3338-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ตำบลฝาละมี
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 182,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางราตรี สุวรรณโร
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
15.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
30.00
4 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกกำลังกายมีความจำเป็นควบคู่ไปกับการดำรงชีพของประชาชน ประกอบกับรัฐบาลได้เน้นเรื่องการรณรงค์ให้ประชาชนทุกครัวเรือนหันมาออกกำลังกายกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นการลดปัญหาการเจ็บป่วยและ การเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บก่อนเวลาอันควรตลอดจนแก้ปัญหาการติดยาเสพติดโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง มีจิตใจที่แจ่มใส ปัจจุบันมีการนำ “ลีลาศ” กับ “แอโรบิค” เข้ามาผสมกันเป็นการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Line Dance” เป็นฝึกออกกำลังกายด้วยทักษะการเคลื่อนไหวในรูปแบบการออกกำลังกายในแถว(Line dance)ซึ่งเป็นการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งที่นำทักษะพื้นฐานการเคลื่อนไหว การเดิน การเต้นตามธรรมชาติที่ช่วยพัฒนาสุขภาพทุกองค์ประกอบ ช่วยพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานอย่างสมดุลด้วยลีลาการเคลื่อนไหว4 ทิศทาง ตามจังหวะเพลงที่สนุกสนานเป็นการออกกำลังกายประกอบเพลงไปตามจังหวะและเป็นกลุ่ม โดยมีจุดกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมเต้นเข้าจังหวะจากลักษณะการของกิจกรรมที่ทำร่วมกันนั้นจะเห็นได้ว่า Line Dance เป็นการเต้นที่ผสมผสานระหว่างลีลาศและแอโรบิคซึ่งถือเป็นการลดช่องว่างของผู้ที่ต้องการเต้นลีลาศ แต่ไม่มีคู่ เพราะ Line Dance สามารถเต้นคนเดียวได้ การออกกำลังกายแบบ Line Dance มีประโยชน์เรื่องของการบริหารสมอง ฝึกการจำท่วงท่า ฝึกร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกที่ดี ทั้งยังสร้างความเพลิดเพลิน แกนนำสุขภาพตำบลฝาละมี ตระหนักถึงประโยชน์ของกิจกรรม Line Dance จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกาย จิตดี ด้วยวิถี "Line Dance" ตำบลฝาละมี ขึ้นมา เพื่อเพิ่มพื้นที่บวกในการออกกำลังกายให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ และเสริมสร้างความสามัคคี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 40.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

15.00 30.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

30.00 50.00
4 . เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และการดูแลตนเองโดยการออกกำลังกายแบบ Line Dance

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

50.00 80.00
5 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

35.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 182,100.00 5 182,100.00
20 มิ.ย. 65 ประชุมทำความเข้าใจโครงการ 0 600.00 600.00
27 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 0 11,000.00 11,000.00
4 - 8 ก.ค. 65 - กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายแบบ Line Dance และสาธิตและฝึกปฏิบัติกิจกรรม Line Dance 0 30,500.00 36,500.00
11 - 12 ก.ค. 65 แลกเปลียนเรียนรู้และประเมินกลุ่ม เครือข่ายที่มีผลการทำกิจกรรมทางกาย ตำบลฝาละมี ยอดเยี่ยม 0 100,000.00 94,000.00
17 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 เต้น ( ไลน์แดนซ์ ) เล่น ( กีฬา ) นำพาสุขภาพที่ดี 0 40,000.00 40,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มมากขึ้น 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และการดูแลตนเองโดยการออกกำลังกาย 3. ประชาชนมีสุขภาพดี ลดการเกิดโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2564 13:41 น.