กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการพัฒนาสมองสำหรับผู้ป่วยพิการทางสมอง (Multitasking room for brain recovery) ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6961-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุไหงโกลก
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 47,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ แพทย์หญิงรวิษฎา อภิภูธนายุต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่มีภาวะสุขภาพเกี่ยวกับความพิการทางสมอง อาทิเช่นโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มสูงมากขึ้น และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาจทำให้เกิดความพิการในระยะยาว ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิต จากงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ มีหลักฐานประจักษ์ชัดเจนว่าหลังจากสมองได้รับบาดเจ็บ สมองจะเกิดการซ่อมแซมฟื้นฟู และสามารถฟื้นกลับมาได้ โดยระยะเวลาที่สามาถฟื้นได้มากที่สุดคือในช่วง 3-6 เดือนแรก โดยการฟื้นของเซลล์ประสาทในสมองนั้น จะแบ่งเป็นสองรูปแบบได้แก่ การฟื้นเนื่องจากสมองเกิดการซ่อมแซมตนเองภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ (Neurological recovery) และรูปแบบที่สองคือ เซลล์ประสาทภายในสมองเกิดกระบวนการจัดเรียงใหม่และเพิ่มจำนวนการส่งกระแสประสาท ผ่านกระบวนการเรียนรู้ (motor learning) กิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลกับฟื้นฟูระบบประสาท มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น การฝึกเดินกับนักกายภาพบำบัด การฝึกกิจกรรมในชีวิตประจำวันกับนักกิจกรรมบำบัด หรือแม้กระทั่งการฝึกเชาว์ปัญญา ทั้งในด้านความจำ สมาธิหรือทักษะการวางแผนเป็นต้น
แต่ในบริบทพื้นที่ของสามจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส พบว่ายังขาดแคลนอุปกรณ์และแหล่งฝึกสำหรับการฟื้นฟูสมอง ทำให้ผู้ป่วยในพื้นที่เสียโอกาสทั้งในแง่ของการบริการทางการแพทย์หรือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผู้ป่วยบางรายต้องเดินทางไกลเพื่อไปรับการบำบัดฟื้นฟูในต่างพื้นที่ จากปัญหาดังกล่าว คาดว่าหากพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีแหล่งฝึกฟื้นฟูสมองที่เข้าถึงได้ จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยพิการทางสมอง สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้นหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงน้อยลง

คะแนน ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 คะแนน ( Barthel Activities of Daily Living : ADL) ภายใน 3 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

20.00 0.00
2 เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย

คะแนนแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าชุด9คำถาม (PHQ-9) น้อยกว่า 11 คะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

20.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาด้านเชาวน์ปัญญาของสมองเพิ่มขึ้น

วัดจากผลประเมินแบบทดสอบสมองเสื่อมเบื้องต้น (TMSE)
ผู้ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 23 คะแนน หลังจากได้รับการฝึกครบ 3 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

20.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,000.00 0 0.00
16 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยสร้างอุปกรณ์สำหรับฝึกผู้ป่วย 0 27,000.00 -
16 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ฝึกผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ฝึกและทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสมอง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ พึ่งพาผู้อื่นลดลงหรือกลับมาเข้าสังคมได้
  2. ผู้ป่วยที่เข้ารับการฝึก มีสภาพจิตใจดีขึ้น หรือหายจากอาการซึมเศร้า
  3. ผู้ป่วยที่เข้ารับการฝึก ได้รับการฟื้นฟูด้านทักษะสมอง เชาว์ปัญญา ความทรงจำและสมาธิ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2565 23:27 น.