กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการพัฒนาสมองสำหรับผู้ป่วยพิการทางสมอง (Multitasking room for brain recovery) ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

หน่วยเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุไหงโกลก

แพทย์หญิงรวิษฎา อภิภูธนายุต โทร.095-7652687
นางสาวนูรอัสมา เต็ง
นายซู​กี​ฟลี​ มือ​เราะ​
นางสาวสิรีรัตน์ วงษ์จินดา โทร.096-8823070

แผนกเวชกรรมฟื้นฟู ชั้น5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลสุไหงโกลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่มีภาวะสุขภาพเกี่ยวกับความพิการทางสมอง อาทิเช่นโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มสูงมากขึ้น และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาจทำให้เกิดความพิการในระยะยาว ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิต
จากงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ มีหลักฐานประจักษ์ชัดเจนว่าหลังจากสมองได้รับบาดเจ็บ สมองจะเกิดการซ่อมแซมฟื้นฟู และสามารถฟื้นกลับมาได้ โดยระยะเวลาที่สามาถฟื้นได้มากที่สุดคือในช่วง 3-6 เดือนแรก โดยการฟื้นของเซลล์ประสาทในสมองนั้น จะแบ่งเป็นสองรูปแบบได้แก่ การฟื้นเนื่องจากสมองเกิดการซ่อมแซมตนเองภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ (Neurological recovery) และรูปแบบที่สองคือ เซลล์ประสาทภายในสมองเกิดกระบวนการจัดเรียงใหม่และเพิ่มจำนวนการส่งกระแสประสาท ผ่านกระบวนการเรียนรู้ (motor learning)
กิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลกับฟื้นฟูระบบประสาท มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น การฝึกเดินกับนักกายภาพบำบัด การฝึกกิจกรรมในชีวิตประจำวันกับนักกิจกรรมบำบัด หรือแม้กระทั่งการฝึกเชาว์ปัญญา ทั้งในด้านความจำ สมาธิหรือทักษะการวางแผนเป็นต้น
แต่ในบริบทพื้นที่ของสามจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส พบว่ายังขาดแคลนอุปกรณ์และแหล่งฝึกสำหรับการฟื้นฟูสมอง ทำให้ผู้ป่วยในพื้นที่เสียโอกาสทั้งในแง่ของการบริการทางการแพทย์หรือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผู้ป่วยบางรายต้องเดินทางไกลเพื่อไปรับการบำบัดฟื้นฟูในต่างพื้นที่ จากปัญหาดังกล่าว คาดว่าหากพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีแหล่งฝึกฟื้นฟูสมองที่เข้าถึงได้ จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยพิการทางสมอง สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้นหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงน้อยลง

คะแนน ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 คะแนน ( Barthel Activities of Daily Living : ADL) ภายใน 3 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

20.00 0.00
2 เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย

คะแนนแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าชุด9คำถาม (PHQ-9) น้อยกว่า 11 คะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

20.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยมีการพัฒนาด้านเชาวน์ปัญญาของสมองเพิ่มขึ้น

วัดจากผลประเมินแบบทดสอบสมองเสื่อมเบื้องต้น (TMSE)
ผู้ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 23 คะแนน หลังจากได้รับการฝึกครบ 3 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

20.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยสร้างอุปกรณ์สำหรับฝึกผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยสร้างอุปกรณ์สำหรับฝึกผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยสร้างอุปกรณ์สำหรับฝึกผู้ป่วย
อุปกรณ์ประเภทที่ 1 : สำหรับฝึกกล้ามเนื้อแขนและเพิ่มพิสัยของข้อ
อุปกรณ์ประเภทที่ 2 : สำหรับฝึกพัฒนาเชาว์ปัญญาและพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง
อุปกรณ์ประเภทที่ 3 : สำหรับฝึกการทรงตัว
2. นำอุปกรณ์ที่สร้างเสร็จแล้วมาฝึกกับผู้ป่วยจริง โดยจำแนกตามวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ ดังนี้
2.1 สเก็ตบอร์ดมือ : ให้ผู้ป่วยนำมือข้างอ่อนแรงวางลงบนอุปกรณ์และรัดสายให้แน่น หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยออกแรงหรือนักกิจกรรมบำบัดช่วยออกแรงไปในทิศทางซ้าย-ขวาและ Figure eight ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 30 นาที
2.2 ชุดฝึกแขนสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงครึ่งซีก (shoulder single curve) : ให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ ตัวตั้งตรง จากนั้นให้ผู้ป่วยจับวัตถุด้านอ่อนแรงไปด้านตรงกันข้าม 180 องศา
2.3 อุปกรณ์สำหรับฝึกพัฒนาเชาว์ปัญญาและพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง : นักกิจกรรมบำบัดใช้บัตรภาพถาม-ตอบกับผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นการรับรู้ความคิดความเข้าใจในผู้ป่วย โดยการใช้บัตรภาพในชีวิตประจำวันเช่น ผัก ผลไม้ สัตว์ กริยา
2.4 จัดกิจกรรมฝึกการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวในท่านั่งและยืน (dynamic sitting and standing training balance)
งบประมาณ ดังนี้
1. สเก็ตบอร์ดมือ เป็นเงิน 1,000 บาท/ชิ้น
2. จักรยานไฟฟ้าปั่นมือและเท้า เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ชุดฝึกแขนสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงครึ่งซีก (shoulder single curve) เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ป้ายคำหมวดหมู่อวัยวะร่างกาย,ผลไม้,สัตว์ 1,000 บาท/ชุด x 3 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
5. ราวเหล็กฝึกเดิน เป็นระยะทาง 10 เมตร เป็นเงิน 5,000 บาท
6. ลูกบอลยางฝึกการทรงตัว 3 ขนาด เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

Output: อุปกรณ์ฝึกผู้ป่วยสำหรับการพัฒนาการเรียนรู้และการเพิ่มการฟื้นตัวของสมอง
Outcome อุปกรณ์ชุดดังกล่าวจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้และพัฒนาของสมองทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านกล้ามเนื้อ ด้านระบบประสาท และด้านเชาว์ปัญญา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ฝึกและทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ชื่อกิจกรรม
ฝึกผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ฝึกและทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพยาธิสภาพของสมองร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดสถานที่ให้เหมาะสมต่อการฝึก
1.1 จัดโต๊ะสำหรับฝึก ที่สามารถจัดการฝึกแบบกลุ่มได้อย่างน้อย 4 คน
1.2 มีเบาะรองพื้นสำหรับป้องกันการหกล้ม
2. คัดเลือกผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ ได้แก่
2.1 ผู้ป่วยที่มีปัญหาอ่อนแรง, สมองบาดเจ็บ
2.2 คะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel’s index น้อยกว่า 15 คะแนน)
2.3 ญาติและคนดูแล ยินยอมให้ความร่วมมือในการฝึกร่วมกับทีมแพทย์และคนไข้
3. นัดผู้ป่วยมาฝึกที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
4. ฝึกผู้ป่วย 3 วัน/สัปดาห์ วันละ 2 ชั่วโมง
5. ประเมินคะแนน Barthel’s index, PHQ-9,TMSE ในเดือนที่ 0,3,6 เดือน ต่อผู้ป่วย 1 ราย
6. สรุปผลและนำเสนอโครงการ
งบประมาณ ดังนี้
1. โต๊ะ+เก้าอี้สำหรับฝึก ชุด 4-6 ที่นั่ง เป็นเงิน 15,000 บาท
2. เบาะรองพื้นสำหรับป้องกันการหกล้ม งบประมาณ 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

Output
1. กำลังกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้น
2. ลดโอกาสการเกิดข้อติดแลภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
3. มีการพัฒนาเชาว์ปัญญาและทักษะการเรียนรู้ของสมองมากขึ้น
Outcome
1. หลังจากฝึกผู้ป่วยแต่ละคนครบ 6 เดือน คะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel’s index) ของผู้ป่วยแต่ละคน จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 คะแนน
2. คะแนนผลการทดสอบโรคซึมเศร้าลดลง
3. ผลการทดสอบสมองเสื่อม (TMSE) ดีขึ้น
4. ญาติและคนดูแล ได้รับการเรียนรู้ถึงวิธีการฝึกที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสมอง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ พึ่งพาผู้อื่นลดลงหรือกลับมาเข้าสังคมได้
2. ผู้ป่วยที่เข้ารับการฝึก มีสภาพจิตใจดีขึ้น หรือหายจากอาการซึมเศร้า
3. ผู้ป่วยที่เข้ารับการฝึก ได้รับการฟื้นฟูด้านทักษะสมอง เชาว์ปัญญา ความทรงจำและสมาธิ


>