กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
3. สร้างนวัตกรรมในระบบ Refilling clinic for stable HT (locker for U)โดยเครือข่ายในชุมชน1 กรกฎาคม 2565
1
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย มูนาดา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมหารือแนวทางการให้บริการแบบ locker for U ร่วมกับเครือข่ายในชุมชน
  2. จัดทำสื่อขั้นตอนการให้บริการเติมยา ผ่าน locker for U
  3. สำรวจความคิดเห็นของผู้ป่วยในคลินิกเติมยา โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบบริการที่พึงพอใจ และใช้ได้จริง
  4. สรุปผลการสำรวจ รายงานผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ข้อเสนอแนะจากชุมชน เกี่ยวกับระบบบริการที่อยากให้เกิดขึ้น     1.1 ระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยโดยให้ อสม. มีการประเมินและติดตามการกินยาถึงบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวก และยังสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อสม.และผู้ป่วย อยากให้มีระบบนี้ต่อเนื่อง     1.2 อยากให้ทีมโรงพยาบาลมีการติดตามผู้ป่วยที่ยังขาดการรักษา หรือรักษาแบบไม่ต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเกี่ยวข้องกับความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและยาที่ไม่ถูกต้อง     1.3 ระบบการรับยาผ่าน locker อาจทำให้ อสม.ต้องเพิ่มการทำงานอีกหลายขั้นตอน อาจพบกรณีผู้ป่วยบางคนฝาก อสม.รับยาที่ locker ดังนั้น การส่งยาให้ถึงมือผุ้ป่วยถึงบ้าน อาจมีความสะดวกในการปฏิบัติงานตามบริบทพื้นที่มากกว่าการมี locker ให้บริการผู้ป่วยมนชุมชน
  2. ผลการสำรวจความพึงพอใจในระบบบริการ พบว่า ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อระบบบริการในระดับมาก ต้องการให้มีการติดตาม ดูแล ผ่านระบบบริการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง     ข้อเสนอแนะจากผุ้ป่วย ต้องการให้ญาติหรือคนใกล้ชิดรับบริการผ่านระบบนี้ด้วยเช่นกัน (ต้องการให้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม)
1. คัดเลือกแกนนำ NCD ตามเกณฑ์7 มีนาคม 2565
7
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย มูนาดา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมแนวทางการดำเนินงานโครงการแก่ทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลยะหริ่ง และทีมชุมชน (จนท.PCU และทีม อสม.RDU)
  2. กำหนดเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยก่อนเข้าร่วมโครงการและและเกณฑ์การคัดผู้ป่วยออกจากโครงการ
  3. ประสาน IT โรงพยาบาลคัดเลือกผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล เฉพาะผุ้ป่วยในเขตเทศบาลตำบลยามู (ม.1 , ม.2)
  4. จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ เพื่อประเมินผู้ป่วยและให้ผุ้ป่วยสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
  5. จัดระบบบริการแบบคลินิกเติมยาในผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกฯ โดยให้ อสม.ส่งยาถึงบ้าน และมีการประเมินจากแพทย์ทุก 6 เดือน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมโรคได้ในทะเบียนผุ้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลยะหริ่ง เพื่อรับบริการในคลินิกเติมยา     1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีค่า  BP อยู่ในช่วง 110-140/60-90 mmHg ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง     2. อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ระหว่าง ุ60-100 ครั้งต่อนาที     3. ระดับไขมันในเลือด LDL < 160 mg/dl , TG < 500 mg/dl     4. ผุ้ป่วยใช้ยาโรคเรื้อรังไม่เกิน 5 รายการ และมีความร่วมมือในการใช้ยาในระดับมาก
        5. ผู้ป่วยสมัครใจเข้าร่วมโครงการและแพทย์ยินยอมให้เข้าร่วมโครงการ
  2. มีผู้ป่วยที่ผ่านการคัดเลือก และผ่านการประเมินซำจากการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ป่วย ยินยอมเข้าร่วมโครงการ มีทั้งสิ้น 22 ราย
  3. มีระบบบริการแบบคลินิกเติมยา โดยความร่วมมือระหว่างทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลยะหริ่ง และทีมชุมชนตำบลยามู
2. สร้างหลักสูตร 4D literacy (Drug-Disease-Dietary)1 มีนาคม 2565
1
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย มูนาดา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพจัดทำหลักสูตร 4D literacy (Drug-Disease-Dietary-Dental) แก่แกนนำ NCD
  2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม 4D ให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เพื่อติดตามผู้ป่วยในคลินิกเติมยา
  3. อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยที่เป็นแกนนำ NCD เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้โปรแกรม 4D และประเมินผุ้ป่วยก่อนเข้ารับการอบรม
  4. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการติดตามเยี่ยมบ้านจาก อสม.
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีเนื้อหารายละเอียดการให้ความรู้ตามโปรแกรม 4D literacy
  2. มี อสม.ที่เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 32 คน มีความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังอบรม คิดเป็นร้อยละ 60 และ ุ68 ของแบบทดสอบ
  3. มีผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม 15 คนในจำนวนผู้ป่วยในคลินิกเติมยาทั้งหมด 22 คน คิดเป็นร้อยละ 68.18     ผลการวัดความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า       ความรู้           ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วม มีความรู้ระดับสูง           ร้อยละ 5  มีความรู้ระดับปานกลาง       ความเชื่อด้านสุขภาพ (วัดความคิดเห็น)       1.การรับรู้ความรุนแรง และ Risk of complication
                ร้อยละ 45.68 เห็นด้วยอย่างยิ่ง , ร้อยละ 43.21 เห็นด้วย       2.การรับรู้ประโยชน์ของการกินยา    3. การรับรู้อุปสรรคต่อการกินยา           ร้อยละ 23.61 เห็นด้วยอย่างยิ่ง          ร้อยละ 49.31 ไม่เห็นด้วย           ร้อยละ 59.03 เห็นด้วย                                    5.56  ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง