กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. โรงพยาบาลยะหริ่ง มีการจัดระบบบริการแบบคลินิกเติมยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ เป็นความร่วมมือระหว่างคลินิกโรคเรื้อรังและฝ่ายเภสัชกรรม ซึ่งมีตำบลยามู เขตเทศบาลตำบลยะหริ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้และนำร่อง ด้วยความเข้มแข็งของเครือข่าย โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการรับผู้ป่วยเข้าในคลินิกเติมยา และเกณฑ์การคัดออก ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์จะมีการประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการ รวมถึงข้อกำหนด/เงื่อนไขในการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสมัครใจเข้ารับบริการ ผู้ป่วยเหล่านี้จะถูกเรียกเป็น "แกนนำ NCD"
    ผู้ป่วยที่อยู่ในคลินิกเติมยามีการนำส่งยาโดย อสม.ทุก 3 เดือน โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับบริการใน รพ. และจะมีการพบแพทย์ทุก 6 เดือน เจาะเลือด complete lab พร้อมกันทุก 1 ปี
  2. ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและสมัครใจที่จะเข้าระบบบริการแบบคลินิกเติมยา ตำบลยามู ซึ่งได้จัดประชุมชี้แจงจำนวน 3 ครั้ง มีจำนวน 22 คน โดยมี อสม.ที่รับผิดชอบดูแลทั้งหมด 4 คน
  3. จัดทำหลักสูตร 4D literacy (Drug-Disease-Diet-Dental) โดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลยะหริ่ง ได้ออกแบบความรู้ที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำเป็นต้องรู้ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับพฤติกรรมสุขภาพและบอกต่อแก่ผู้ป่วยในชุมชนต่อ ซึ่งหลักสุตรนี้จะแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ส่วน คือ อสม.และผู้ป่วย
  4. จัดประชุมให้ความรู้แก่ อสม. ตามหลักสูตร 4D literacy เพื่อเตรียมความพร้อม อสม.ในการติดตามผู้ป่วยหลังเข้าโปรแกรมต่อ และจะมีบทบาทในการดักจับปัญหาเพื่อรายงานทีมสหวิชาชีพแก้ไข ติดตามต่อ อสม.มีความรู้เฉลี่ย   ก่อนอบรม : ร้อยละ 60 ของแบบทดสอบ   หลังอบรม : ร้อยละ 68 ของแบบทดสอบ จะเห็นได้ว่า ยังจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ของ อสม.ในการดูแลผู้ป่วย NCD ในชุมชน เพื่อให้เกิดการดูแล ติดตามผู้ป่วยในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. จัดประชุมให้ความรู้แก่แกนนำ NCD และญาติ เพื่อสร้างความเข้าใจความสำคัญของการดูแลตัวเองในโรคเรื้อรังทั้งในผู้ป่วยและญาติ พบว่า
    ผลการวัดความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า   ความรู้   ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วม มีความรู้ระดับสูง   ร้อยละ 5 มีความรู้ระดับปานกลาง   ความเชื่อด้านสุขภาพ (วัดความคิดเห็น)   1.การรับรู้ความรุนแรง และ Risk of complication
      ร้อยละ 45.68 เห็นด้วยอย่างยิ่ง , ร้อยละ 43.21 เห็นด้วย   2.การรับรู้ประโยชน์ของการกินยา
      ร้อยละ 23.61 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
      ร้อยละ 59.03 เห็นด้วย
      3. การรับรู้อุปสรรคต่อการกินยา   ร้อยละ 49.31 ไม่เห็นด้วย   ร้อยละ 5.56 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผลการวัดความร่วมมือในการรับประทานยา   ร้อยละ 5.56 มีความร่วมมือระดับ ดีมาก     38.89      ปานกลาง     55.56      ตำ่
  6. ชุมชนวางแผนจัดทำนวตกรรมการรับยาสำหรับผู้ป่วยในคลินิกเติมยา ตำบลยามู ผ่าน locker ซึ่งตั้งไว้บริเวณตาดีกา มัสยิดยามู ซึ่งจะต้องมีการวางแนวทางปฏิบัติ สื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบแนวทางปฏิบัติต่อไป

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 54
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 22
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. คัดเลือกแกนนำ NCD ตามเกณฑ์ (2) 2. สร้างหลักสูตร 4D literacy (Drug-Disease-Dietary) (3) 3. สร้างนวัตกรรมในระบบ Refilling clinic for stable HT (locker for U)โดยเครือข่ายในชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh