โครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565 |
รหัสโครงการ | 65-L5169-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลทุ่งลาน |
วันที่อนุมัติ | 14 มกราคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 14 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2565 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประสิทธิ์ แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 14 ม.ค. 2565 | 30 ก.ย. 2565 | 100,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 7395 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง | 90.00 | ||
2 | ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน | 90.00 | ||
3 | ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 | 30.00 | ||
4 | ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อธันวาคม ปี 2019 มีการระบาดไปทั่วโลก มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยพบการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ 1. สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) 2. สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) 3. สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) แต่ละสายพันธุ์จะมีประสิทธิภาพในการแพร่กระจายเชื้อที่แตกต่างกัน รวมไปถึงอาการของผู้ติดเชื้อที่พบในเชื้อชนิดหนึ่ง แต่กลับไปพบในเชื้ออีกชนิดหนึ่ง และสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่พบ คือ 4. สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรก ในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ที่ประเทศบอตสวานา และองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ แต่พบว่ามีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ(ซึ่งอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดลต้า) ขณะเดียวกัน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมีการเดินทางข้ามจังหวัด รวมถึงเป็นเทศกาลเฉลิมฉลอง อาจเป็นต้นตอให้เกิดการระบาดขึ้นมาได้หลังเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะ “โอไมครอน” ซึ่งมีการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หลายหน่วยงานมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดไม่ว่าจะเป็น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงศึกษาธิการ ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home เป็นเวลา 7 - 14 วัน โดยเฉพาะคนที่กลับจากภูมิลำเนา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วันอังคารที่ 5 มกราคม 2565 รวม 3,899 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 3,831 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 68 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,210,612 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 2,508 ราย หายป่วยสะสม 2,155,455 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต เพิ่ม 19 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19) โดยจังหวัดสงขลา เป็นในพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2565 รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 27 คน ผู้ป่วยสะสมจำนวน 67,113 ราย เสียชีวิตสะสม 309 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) (ข้อมูลจาก : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา) และจากสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2565มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 467 ราย เสียชีวิตสะสม 3 ราย โดยในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 146 ราย เสียชีวิตสะสม 2 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสะสมทั้งหมดมากกว่า 1,000 ราย เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไป และผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTTA อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค ติดตาม และเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด จึงมีการคิดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคที่สำคัญ คือ การตรวจเชิงรุก (active case finding) เพื่อคัดกรองหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัย ยืนยัน เข้ารับการรักษาโดยเร็ว อีกทั้งยังสามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อให้บุคคลอื่น และลดจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ สำหรับการตรวจหาเชื้อทางเทคนิคห้องปฏิบัติการที่ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศในการตรวจยืนยันโรคโควิด-19 คือ การหาสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสด้วย real-time reverse transcription polymerase chain reaction (real-time RT-PCR หรือ rRT-PCR) เป็นวิธีมาตรฐานที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงสูง แต่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการรอผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการค่อนข้างนาน จึงมีการนำชุดตรวจคัดกรองที่เรียกว่า Antigen Test Kit (ATK) หรืออาจรู้จักกันในอีกชื่อคือ Antigen Rapid Test ที่บุคคลทั่วไปสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาตรวจและทราบผลได้ในระยะเวลา 15-30 นาทีเท่านั้น ซึ่งการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และ ลดปัญหาความแออัดในการเข้าตรวจเชื้อที่สถานพยาบาล ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565 นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน อย่างเร่งด่วน มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที |
80.00 | 95.00 |
2 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกราย กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงได้รับการตรวจทุกราย |
80.00 | 95.00 |
3 | เพื่อให้อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง |
80.00 | 50.00 |
4 | เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง |
90.00 | 95.00 |
5 | เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน |
90.00 | 95.00 |
6 | เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 |
30.00 | 50.00 |
7 | เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 |
90.00 | 95.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 7395 | 100,000.00 | 1 | 100,000.00 | |
14 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | กิจกรรมตรวจเชิงรุก Antigen Test Kit (ATK) กลุ่มเสี่ยง | 7,395 | 100,000.00 | ✔ | 100,000.00 |
- มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที
- กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงได้รับการตรวจทุกราย
- อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 00:00 น.