กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงสำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) แห่งที่ 2
รหัสโครงการ 65-L1504-5-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลทุ่งกระบือ
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรินทร์ฤดี ไวศยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) มาตรา 53 (1) มาตรา 56 (1) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) มาตรา 17 (19) บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ควบคุมและระงับโรคติดต่อ นั้น     จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ของประเทศไทยและในพื้นที่จังหวัดตรังมีผู้ป่วยเข้าข่ายเฝ้าระวังตามเกณฑ์สอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามของจังหวัดตรังมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
    หนังสือจังหวัดตรัง ด่วนที่สุด ที่ ตง 0023.3/ว4402 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดตั้งสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) ศูนย์พักคอยและการแยกกักตัวที่บ้าน (Community Isolation และ Home Isolation) ในส่วนอำเภอย่านตาขาว ได้ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านสถานที่รองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เป็นแห่งที่ 2 และทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 9 แห่ง ในการจัดเตรียมสถานที่ และจัดหาวัสดุที่จำเป็นร่วมกัน โดยกำหนดสถานที่ ณ อาคารอเนกประสงค์ สหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งสามารถจัดหาเตรียมรองรับผู้ป่วยได้ 150 เตียง และได้รับความยินยอมในการใช้สถานที่จากสหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว ซึ่งมีความเหมาะสมในการใช้สถานที่ในการให้การดูแลผู้ป่วยและการแยกกักตัว โดยเทศบาลตำบลทุ่งกระบือได้รับผิดชอบตามภาคผนวก ข ที่แนบท้ายโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับคนในชุมชน(Community Isolation) อำเภอ ย่านตาขาว แห่งที่ 2 จำนวน 152 เตียง

ร้อยละของผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วให้สามารถดูแลในศูนย์พักคอยเตียงในชุมชน

0.00
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ร่วมประชุมกับอปท.ในเขตุอำเภอย่านตาขาวเพื่อกำหนดสถานที่และบันทึกข้อตกลงร่วมกัน   2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลทุ่งกระบือ   3. จัดหาวัสดุที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง   4. ส่งมอบวัสดุต่างๆให้กับ โรงพยาบาลย่านตาขาว   5. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่พบการติดเชื้อได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว   2. ไม่มีประชาชนในพื้นที่ป่วยตายด้วยโรคโควิด -19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 13:25 น.