กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5313-03-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมือง
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 107,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันทิมา องศารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมือง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 107,160.00
รวมงบประมาณ 107,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ
20.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
22.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี มีภาวะเสี่ยงโภชนาการเกิน
10.00
4 ร้อยละของเด็กเล็ก2-6 ปีมีความเสี่ยงต่อโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้านเพื่อที่จะเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้เหมาะสมและเป็นไปตามวัย ครูและผู้ปกครองจะต้องตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและการส่งเสริมสุขภาพเด็กซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ นอกจากนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือการประสานงานจากทุกฝ่าย เพราะเด็กวัยนี้มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพและโรคภัยเจ็บไข้ได้ง่าย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ถ้าเด็กมีสุขภาพดี ก็จะทำให้เด็กมีความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ในด้านต่างๆได้ดี และจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่อายุ 2-5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2560 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ตามศักยภาพของเด็กโดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองเปิดจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ขวบในปีการศึกษาที่ 2564 จำนวน 54 พบว่าเด็กมีพัฒนาการการไม่สมวัยในด้านร่างกาย ร้อยละ22 มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ10 น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์และร้อยละ 68 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ จากการคัดกรองเด็กปฐมวัยที่มาเรียนในแต่ละวันพบว่าร้อยละ 30 ของเด็กทั้งหมดเกิดภาวะโรคติดต่อภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเช่น โรคหวัด โรคตาแดง โรคมือเท้าปากและภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัยโคโรน่า COVIC 19 นอกจากนี้ผู้ปกครองร้อยละ๖๐ยังไม่เข้าใจในวิธีการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในเรื่องของโภชนาการของเด็ก ยังให้เด็กกินขนมกรุบกรอบ ดื่มน้ำอัดลมและลูกกวาด ขนมหวานต่างๆซึ่งส่งผลให้เด็กร้อยละ 80มีปัญหาในเรื่องของโรคฟันผุ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองจึงมีความจำเป็นในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองประจำปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองมีพัฒนาการที่สมวัยและมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองมีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง 5 ด้านและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย....ชม

50.00 80.00
2 เพื่อลดภาวะโรคติดต่อและป้องกันภาวะเสี่ยงในดรคระบาดโควิด19ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมือง

ร้อยละ 90 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองสามารถลดภาวะโรคติดต่อและป้องกันภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่า covid 19

70.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้อกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองมีสุขภาพฟันที่ดีเพิ่มขึ้น

50.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและครูตลอดจนผู้เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รัไปปฏิบัติกับเด็กได้อย่างถูกต้อง

50.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1.สำรวจข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน และสถานการณ์โรคติดต่อต่างๆของเด็ก 0 7,600.00 7,600.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 2.ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลของเด็ก 0 175.00 175.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 5.ปฏิบัติการของคณะครูและนักเรียนในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 6.ประชุมติดตามประเมินการดำเนินงานโครงการ จำนวน3ครั้ง 0 40,050.00 4,050.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3.เวทีคืนข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้ความเข้าใจ 0 65,285.00 65,285.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 4.ปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมใน ศพด. 0 30,050.00 30,050.00
รวม 0 143,160.00 6 107,160.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองมีพัฒนาการที่สมวัย ๒. ภาวะโรคติดต่อและภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่า covid-19 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในเมืองลดลง ๓. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และมีฟันผุในเด็กปฐมวัยลดลง ๔. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 10:36 น.