กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปี 2565
รหัสโครงการ L3065-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 99,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอูเซ็ง แวสาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.818931,101.167861place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 580 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานีที่พบผู้ติดเชื้อต่อวันติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศประชาชนทั่วไปได้รับการฉีดวัคซีนไม่ถึงร้อยละ 70 ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขเกิดความล้มเหลว โดยมีกลุ่มเสี่ยงจำนวนไม่น้อยที่ปกปิดการสัมผัสผู้ติดเชื้อ (timeline) ทำให้การค้นหาแหล่งของโรคมีความยุ่งยากมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับเชื้อมีโอกาสอาศัยหรือคลุกคลีกับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง ด้วยเหตุนี้ การคัดกรองการติดเชื้อชนิด Rapid Test ผ่านการตรวจเนื้อเยื่อในโพรงจมูก (Swab) ด้วยเครื่องตรวจ Antigen Rapid Test สามารถใช้คัดกรองกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ซึ่งประสานงานและคลุกคลีกับประชาชนในตำบลได้อย่างรวดเร็วและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อนำส่งกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไปสู่ระบบการตรวจและวินิจฉัยผ่านห้องปฏิบัติการและการรักษาต่อไป จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันพุธที่ 19 มกราคม 2565 รวม 7,122 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 6,950 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 172 ราย ผู้ป่วยสะสม 121,498 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) สำหรับข้อมูลสถานการณ์ของโรคโควิทในปัตตานีโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ประจำวันที่11 มกราคม 2565 นั้นพบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 15 ราย แบ่งเป็น อำเภอเมือง 5 ราย อำเภอโคกโพธ์ 5 ราย และหนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี แม่ลาน ยะรัง อำเภอละ 1 ราย แนวโน้มการระบาดของโรคลดลง อาจเนื่องมาจากการได้รับวัคซีนของประชาชน และกลุ่มเสี่ยงต่างๆเพิ่มขึ้น การมีภูมิตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น แต่มาตรการต่างๆในการป้องกัน เฝ้าระวังยังคงต้องดำเนินการอยู่ เช่น การตรวจ ATK ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ การเฝ้าระวังในพื้นที่บริเวณที่มีการรวมตัวกันจำนวนมาก การเว้นระยะ การล้างมือ การส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆได้รับวัคซีน การสวมหน้ากากอนามัย
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติสุข ปลอดจากโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ระหว่างหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจความรับผิดชอบในการส่งเสริมป้องกันโรคตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท 0808.2/ว 4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปี 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เจ้าของร้านและประชาชนที่ซื้อของในตลาดนัด ร้านขายของชำ ร้านน้ำชาหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เช่น มัสยิด วัด เป็นต้นฯลฯได้รับการคัดกรองโรคโควิด – ๑๙ ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

ร้อยละ 10 ของประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคโควิด – ๑๙ ด้วยชุดตรวจ Antigen  Test  Kit (ATK)

100.00 10.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน

0.00 0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 70 ของประชาชนในพื้นที่ มีความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

50.00 70.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ในพื้นที่ตำบลตุยง

อัตราการเกิดกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ในพื้นที่เท่ากับศูนย์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,350.00 3 99,350.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 พัฒนาเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ 0 750.00 750.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมหรือสนับสนุนกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 0.00 0.00
1 ม.ค. 65 - 28 ก.พ. 65 จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆ 0 98,600.00 98,600.00
25 - 30 ก.ย. 65 ติดตาม ประเมินผล 0 0.00 -

1.พัฒนาเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ โดยการจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้หน่วยงาน องค์กรภาคประชาชน ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทุกแห่งทราบ พร้อมจัดให้มีการสาธิตและฝึกปฏิบัติการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK 2. ส่งเสริมหรือสนับสนุนกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ บริเวณที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่   - การจัดตั้งด่านตลาดนัด
  - คัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่นั่งร้านน้ำชา ร้านขายของชำ ร้านค้า มัสยิด   - คัดกรองประชาชนตามสถานที่ที่มีความเสี่ยงทุกแห่งตามนโยบายจังหวัดปัตตานี
  - คัดกรองกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมอบรม ประชุม หรือรวมกลุ่มต่างๆ
  - คัดกรองผู้สัมผัสผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงหรือมาจากพื้นที่เสี่ยงบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
  - การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา หน่วยงานราชการหรือเอกชนต่างๆในพื้นที่ 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆ(ชุดตรวจ Covid-19 Professional use ) 4. ติดตาม ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. สร้างชุมชนเข้มแข็ง
  4. มีชุดตรวจ ATK เพื่อใช้ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่างๆๅ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2565 14:52 น.