กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างการเรียนรู้นำไปสู่การกระตุ้นวัคซีนโควิดเข็ม 3 (รพ.สต.บ้านจันนา)
รหัสโครงการ 65-50105-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาคร เต็มราม รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 182 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)
31.15
2 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้
23.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา
100.00
4 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
100.00
5 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
31.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ทั่วโลก 220 ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน 281,822,609 รายเสียชีวิต 5,422,564 ราย ประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 2,214,712 ราย เสียชีวิต 21,630 ราย จำนวนผู้ป่วยโควิดของจังหวัดพัทลุงอยู่ในลำดับที่ 9 ของประเทศ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 13,457 ราย เสียชีวิต 120 ราย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านจันนา พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 47 ราย เสียชีวิต 0 ราย หมู่ที่ 11 ตำบลดอนทราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 13 ราย เสียชีวิต 0 ราย , หมู่ที่ 3 ตำบลดอนทราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 9 ราย เสียชีวิต 0 ราย , หมู่ที่ 8 ตำบลดอนทราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 8 ราย เสียชีวิต 0 ราย , หมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 8 ราย เสียชีวิต 0 ราย , หมู่ที่ 4 ตำบลดอนทราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 7 ราย เสียชีวิต 0 ราย , หมู่ที่ 7 ตำบลชะมวง พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 2 ราย เสียชีวิต 0 ราย นายแพทย์ แอนโทนี เพาซี แพทย์ใหญ่ประจำคณะทำงานด้านการควบคุมโรคโควิด 2019 ของทำเนียบขาว เปิดเผยว่า ยอดติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก “ยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ค่าเฉลี่ยของสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 150,000 ราย และน่าจะเพิ่มขึ้นสูงกว่านั้นมาก วิธีป้องกันโรคโควิด-19 ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็ม 3) ประกอบกับองค์การอนามัยจะประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 แต่มีเงื่อนไขข้อหนึ่งระบุว่า ประชาชนในประเทศไทยต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น อย่างน้อยร้อยละ 60 จึงจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยเป้าหมาย 608 ของอำเภอควนขนุนเท่ากับ 22,569 ราย ฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว 7,112 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.51 (ข้อมูลจาก สสจ.พัทลุง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565) จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว รพ.สต.บ้านจันนา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่เขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านจันนา ทั้ง 2 หมู่บ้าน ไม่ให้แพร่ระบาด จึงได้เขียนโครงการฯ เพื่อของบกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ในการดำเนินการรณรงค์กระตุ้นการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้นำไปสู่การกระตุ้นวัคซีนโควิดเข็ม 3 ในกลุ่มประชากร 608
  1. กลุ่มเป้าหมาย 608 มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
  2. กลุ่มเป้าหมาย 608 ฉีดวัคซีนเข้มกระตุ้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคโควิดในกลุ่ม 608 ลดลง ร้อยละ 50
  4. อัตราการตายด้วยโรคโควิดในกลุ่ม 608 ลดลง ร้อยละ 50
100.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 825 45,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 อบรมการเก็บข้อมูล “สร้างการเรียนรู้นำไปสู่การกระตุ้นวัคซีนโควิด เข็ม 3 ในกลุ่มประชากร 608” 25 7,000.00 -
2 - 30 มิ.ย. 65 สัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 200 26,000.00 -
1 - 14 ส.ค. 65 เก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ความต้องการวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มประชากร 608 (เก็บข้อมูลก่อน) 200 4,000.00 -
15 - 31 ส.ค. 65 เก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ความต้องการวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มประชากร 608 โดย อสม. ที่ผ่านการอบรม (เก็บข้อมูลหลัง) 200 4,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมสำเร็จรูป “สร้างการเรียนรู้นำไปสู่การกระตุ้นวัคซีนโควิด เข็ม 3 ในกลุ่มประชากร 608” 200 4,000.00 -
25 - 30 ก.ย. 65 การวิเคราะห์ข้อมูล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย 608 มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
  2. กลุ่มเป้าหมาย 608 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50
  3. อัตราป่วยด้วยโรคโควิดในในกลุ่ม 608 ลดลง ร้อยละ 50
  4. อัตราตายด้วยโรคโควิดในในกลุ่ม 608 ลดลง ร้อยละ 50
  5. ได้พัฒนารูปแบบ “สร้างการเรียนรู้นำไปสู่การกระตุ้นวัคซีนโควิด เข็ม 3 ในกลุ่มประชากร 608”
  6. ผลการวิเคราะห์นำไปใช้ในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคโควิดในลำดับต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565 11:23 น.