กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวสุขภาพดี สังคมมีสุข
รหัสโครงการ 65-L5312-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2565 - 16 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 16 มิถุนายน 2565
งบประมาณ 15,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา อุสมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่เป็นหลักสำคัญที่สุดของสังคมเป็นรากฐานของการพัฒนาคนและสังคม โดยทำหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้แก่สมาชิกในครอบครัวด้วยการอบรมเลี้ยงดู พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิกครอบครัวเพื่อให้สมาชิกครอบครัวมีพัฒนาการตามวัยและเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ปัจจุบันครอบครัวไทยเปลี่ยนจากรูปแบบจากครอบครัวขยายซึ่งมีสมาชิก 3 ช่วงวัย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และนับวันยิ่่งมีขนาดเล็กลง จำนวนบุตรเฉลี่ยเหลือเพียง 1.5 คน/ครอบครัวซึมซับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้สังคมไทยและคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว ขณะที่โครงสร้างทางสังคมไทยยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันคนไทยจึงต้องเผชิญกับวิกฤตเรื่องค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่มีการเลียนแบบวัฒนธรรมการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และการให้ความสำคัญกับเงินตราเป็นตัวตั้งซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเริ่มต้นจากเมืองหลวงและกระจายตัวไปสู่เมืองใหญ่ และจากเมืองใหญ่ไปสู่ชนบทโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและสื่อทุกแขนงเป็นตัวเชื่อมร้อยให้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ดังกล่าวทำให้ครอบครัวไทยประสบปัญหาอย่างรุนแรง ปัญหาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ ได้แก่การหย่าร้าง สัมพันธภาพในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่แต่ละครอบครัวต้องดิ้นรนและแข่งขันกันทำมาหากิน ส่งผลให้สัมพันธภาพและความเกื้อกูลของคนในครอบครัวและชุมชนลดน้อยลง พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและขัดเกลาสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดีและมีการเจริญเติบโตตามวัย จึงทำให้เด็กไทยในปัจจุบันตกเป็นเหยื่อของค่านิยมผิด ๆ ในด้านวัตถุนิยม บริโภคนิยม ติดอบายมุข ติดยาเสพติดมีนิสัยก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง ขาดความอดทนอดกลั้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไม่สนใจเรียน และออกจากโรงเรียนกลางคัน การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในแต่ละวัย สภาพร่างกายต้องการได้รับการดูแลที่ไม่เหมือนกัน ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น ต้องการการดูแลสุขภาพเพื่อไปสร้างเสริมร่างกายให้เกิดความเจริญเติบโต ในวัยทำงานหรือวัยกลางคนก็ต้องการการซ่อมเสริมเพื่อให้ร่างกายแข็งแกร่งและป้องกันการเกิดโรคเพื่อสามารถทำงานหนักได้อย่างสมดุล และในวัยสูงอายุก็ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในวัยที่ร่างกายผ่านการใช้งานมามากและมีความเสื่อมโทรม ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ความรู้และกระตุ้นให้บุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะกับวัย การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว

ร้อยละ 80 สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม มีสติแก้ไขปัญหาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบได้

5.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,750.00 0 0.00
11 - 23 เม.ย. 65 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 0 1,050.00 -
1 - 30 มิ.ย. 65 จัดอบรมให้ความรู้ครอบครัวสุขภาพดี 0 14,700.00 -
1 - 20 ก.ค. 65 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัวอบอุ่น สังคมมีสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565 00:00 น.