กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครอบครัวสุขภาพดี สังคมมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

1.นายรัฐการลัดเลีย

2.นางสาวอาทิญา ชัยทอง

3.นางสาวรุ่งนภา อุสมา

4.นางสาวพิชยา ดำสนิท

5.นางสาวสุกัยดา ยาหมาย

ตำบลปากน้ำ อำเภอละงูจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

5.00

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่เป็นหลักสำคัญที่สุดของสังคมเป็นรากฐานของการพัฒนาคนและสังคม โดยทำหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้แก่สมาชิกในครอบครัวด้วยการอบรมเลี้ยงดู พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิกครอบครัวเพื่อให้สมาชิกครอบครัวมีพัฒนาการตามวัยและเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ปัจจุบันครอบครัวไทยเปลี่ยนจากรูปแบบจากครอบครัวขยายซึ่งมีสมาชิก 3 ช่วงวัย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และนับวันยิ่่งมีขนาดเล็กลง จำนวนบุตรเฉลี่ยเหลือเพียง 1.5 คน/ครอบครัวซึมซับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้สังคมไทยและคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว ขณะที่โครงสร้างทางสังคมไทยยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันคนไทยจึงต้องเผชิญกับวิกฤตเรื่องค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่มีการเลียนแบบวัฒนธรรมการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และการให้ความสำคัญกับเงินตราเป็นตัวตั้งซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเริ่มต้นจากเมืองหลวงและกระจายตัวไปสู่เมืองใหญ่ และจากเมืองใหญ่ไปสู่ชนบทโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและสื่อทุกแขนงเป็นตัวเชื่อมร้อยให้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ดังกล่าวทำให้ครอบครัวไทยประสบปัญหาอย่างรุนแรง ปัญหาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ ได้แก่การหย่าร้าง สัมพันธภาพในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่แต่ละครอบครัวต้องดิ้นรนและแข่งขันกันทำมาหากิน ส่งผลให้สัมพันธภาพและความเกื้อกูลของคนในครอบครัวและชุมชนลดน้อยลง พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและขัดเกลาสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดีและมีการเจริญเติบโตตามวัย จึงทำให้เด็กไทยในปัจจุบันตกเป็นเหยื่อของค่านิยมผิด ๆ ในด้านวัตถุนิยม บริโภคนิยม ติดอบายมุข ติดยาเสพติดมีนิสัยก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง ขาดความอดทนอดกลั้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไม่สนใจเรียน และออกจากโรงเรียนกลางคัน
การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในแต่ละวัย สภาพร่างกายต้องการได้รับการดูแลที่ไม่เหมือนกัน ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น ต้องการการดูแลสุขภาพเพื่อไปสร้างเสริมร่างกายให้เกิดความเจริญเติบโต ในวัยทำงานหรือวัยกลางคนก็ต้องการการซ่อมเสริมเพื่อให้ร่างกายแข็งแกร่งและป้องกันการเกิดโรคเพื่อสามารถทำงานหนักได้อย่างสมดุล และในวัยสูงอายุก็ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในวัยที่ร่างกายผ่านการใช้งานมามากและมีความเสื่อมโทรม
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ความรู้และกระตุ้นให้บุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะกับวัย การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว

ร้อยละ 80 สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม มีสติแก้ไขปัญหาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบได้

5.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2022

กำหนดเสร็จ 16/06/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน  15  คน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการจำนวน   2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายในกิจกรรมดังนี้ ค่าอาหารว่าง จำนวน 15 คน คนละ  35 บาท จำนวน 2 ครั้ง  เป็นเงิน 1050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2565 ถึง 23 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 2.ได้แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ครอบครัวสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ครอบครัวสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัวการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว (แกนนำ 15 คน คณะทำงานสพค. วัยทำงาน 15 คน เจ้าหน้าที่ 10 คน) โดยมีงบประมาณค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท คิดเป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าวิยากรกระบวนการ จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 4 คน ชั่วโมงละ 300 บาท คิดเป็นเงิน 3,600 บาท 3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน คนละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน 4,000 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อคิดเป็นเงิน 2,800 บาท 5. ค่าวัดสุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ คิดเป็นเงิน 2,000 บาท 6. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ป้าย คิดเป็นเงิน 500 บาท รวมค่าจ่าย 14,700 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้) ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดโครงการครอบครัวสุขภาพดี สังคมมีสุข ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. รับฟังบรรยายในหัวข้อ” คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวให้เหมาะสมกับช่วงวัย” โดย ทีมวิทยากรนักวิชาการสาธารณสุข
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว โดยทีมวิทยากรกระบวนการ ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ทำแบบประเมินผล ปิดโครงการและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ  หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. และ ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สร้างสุขภาพทั้งกายและจิตใจของตนเองและครอบครัว 2.สร้างสัมพันธภาพอันดีภายในครอบครัว 3.สามารถกำหนดหรือเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถกำหนดช่วงเวลาการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 5.เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองและครอบครัวไม่ให้เจ็บป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการแก่เจ้าของงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 20 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,750.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครอบครัวอบอุ่น สังคมมีสุข


>