กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-50105-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,949.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิรานันท์ บุตรบุรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 414 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 541 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
30.15
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
8.17
3 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน
94.23
4 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
94.59

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในด้านภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-60ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั่นมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย และคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน (กรมควบคุมโรค,รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562)
จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs ของกรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรมในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ถึงอุบัติการณ์การเกิดโรคจะมีแนวโน้มลดลงแต่ทว่ายังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่มาก ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้มีการดำเนินกิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการคัดกรองประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,312 คน ได้รับการคัดกรอง 1,241 คนคิดเป็นร้อยละ 94.59 พบมีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 7.82พบสงสัยป่วย ร้อยละ 0.89 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความโลหิตที่บ้านจำนวน 168 คน ร้อยละ 99.41 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.32 ในส่วนของการดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,524 คน ได้รับการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 1,436 คน ร้อยละ 94.23 พบมีภาวะเสียง ร้อยละ 27.16 และสงสัยป่วย ร้อยละ 2.99 โดยหลังการติดตามไม่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 และเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่ออื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง ไตวาย ตับแข็ง จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 40
จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา เล็งเห็นต่อความสำคัญในการตรวจคัดกรอง และการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการคัดกรองที่ควรดำเนินการต่อเนื่องในทุกๆปี เพื่อเป็นการป้องกัน ค้นหากลุ่มผู้ป่วยรายใหม่เพื่อให้ได้รับการักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการตายที่อาจเกิดขึ้นได้จากโรคไม่ติดต่อ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพได้มีการปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยง เพิ่มพฤติกรรมดี เพื่อสุขภาพที่ดี ดังนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาจังได้จัดทำโครงการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ประจำปี 2565 ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

30.15 29.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

8.17 7.00
3 เพื่อคัดกรองเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

94.23 95.00
4 เพื่อคัดกรองความดันโลหิตในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

94.59 95.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1559 28,949.00 0 0.00
6 พ.ค. 65 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป 0 0.00 -
9 - 13 พ.ค. 65 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม. 1,559 24,619.00 -
23 พ.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 0 0.00 -
23 พ.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อสม. 0 0.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 ส่งเสริม เฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 0 0.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD Risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง 0 0.00 -
16 มิ.ย. 65 กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 0 4,330.00 -
1 - 15 ก.ย. 65 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
2.ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
3.ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
4.ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
5.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2565 13:40 น.