กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ประกอบด้วย หมู่ที่ 3,12,14,15,16 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.15
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

8.17
3 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

 

94.23
4 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

 

94.59

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในด้านภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-60ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั่นมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย และคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน (กรมควบคุมโรค,รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562)
จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs ของกรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรมในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ถึงอุบัติการณ์การเกิดโรคจะมีแนวโน้มลดลงแต่ทว่ายังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่มาก ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้มีการดำเนินกิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการคัดกรองประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,312 คน ได้รับการคัดกรอง 1,241 คนคิดเป็นร้อยละ 94.59 พบมีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 7.82พบสงสัยป่วย ร้อยละ 0.89 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความโลหิตที่บ้านจำนวน 168 คน ร้อยละ 99.41 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.32 ในส่วนของการดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,524 คน ได้รับการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 1,436 คน ร้อยละ 94.23 พบมีภาวะเสียง ร้อยละ 27.16 และสงสัยป่วย ร้อยละ 2.99 โดยหลังการติดตามไม่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 และเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่ออื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง ไตวาย ตับแข็ง จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 40
จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา เล็งเห็นต่อความสำคัญในการตรวจคัดกรอง และการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการคัดกรองที่ควรดำเนินการต่อเนื่องในทุกๆปี เพื่อเป็นการป้องกัน ค้นหากลุ่มผู้ป่วยรายใหม่เพื่อให้ได้รับการักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการตายที่อาจเกิดขึ้นได้จากโรคไม่ติดต่อ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพได้มีการปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยง เพิ่มพฤติกรรมดี เพื่อสุขภาพที่ดี ดังนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาจังได้จัดทำโครงการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ประจำปี 2565 ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

30.15 29.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

8.17 7.00
3 เพื่อคัดกรองเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

94.23 95.00
4 เพื่อคัดกรองความดันโลหิตในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

94.59 95.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 414
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 541
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 1,559
ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1,340

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ร่วมกับ อสม. ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 9 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม.
ค่าใช้จ่าย
1. จัดซื้อแถบวัดระดับน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 16 กล่อง กล่องละ 960 บาท เป็นเงิน 15360 บาท
2. ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2650 บาท เป็นเงิน 5300 บาท
3. สำลีชุบแอลกอฮอล์แบบก้อน 4 กล่อง กล่องละ 600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท
4. ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง หน้า-หลัง จำนวน 1559 บาท เป็นเงิน 1559 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24619 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 13 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24619.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหาร และการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 25 บาทต่อคน คนละ 1 มื้อ จำนวน 43 คน เป็นเงิน 1075 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1800 บาท
3. ค่าวัสดุและค่าจัดการอบรม เหมาจ่าย 1,455 บาท - ค่ากระดาษ จำนวน 1 รีม ราคา 120 บาท
- ค่ากระดาษบรูฟ จำนวน 20 แผ่น แผ่นละ 3 บาท เป็นเงิน 60 บาท
- ค่าปากกา จำนวน 40 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าปากกาเคมี จำนวน 5 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 75 บาท
- ค่าสมุด จำนวน 40 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าแฟ้ม จำนวน 40 แฟ้ม แฟ้มละ 10 บาท เป็นเงิน 400 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4330 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2565 ถึง 20 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4330.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน (ค่า DTX≥126 mg/dL) เจาะ FBS ครั้งที่ 1 หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครบ 1 เดือนและเจาะครั้งที่ 2 หลังเจาะครั้งแรก 1 อาทิตย์
  2. ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX=100-125 mg/dL) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครบ 3 เดือน
    ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคเบาหวานได่รับการติดตามเจาะ FBS ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริม เฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริม เฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ตา ไต เท้า ร้อยละ 80
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน มากกว่า ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD Risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD Risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ความเสี่ยง CVD risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะ 3 และ 4 โดยเจ้าหน้าที่และ อสม.
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 80
2.กลุ่มเป้าหมายมีค่าCVD risk ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน รายงานกองทุนฯ
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อุบัติการณ์รายใหม่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง
  2. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,949.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
2.ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
3.ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
4.ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
5.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60


>