กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางหนูอั้น ไข่ทอง

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-02-16 เลขที่ข้อตกลง 9/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2565-L3351-02-16 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,900.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลงผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงาน ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และต้องใช้เวลาในการย่อยสลายซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบและขบวน การกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้ ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ การบริโภคอาหารที่ใส่กล่องโฟม เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ 2,739 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 629 หลังประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้าง เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน วิถีชีวิตชนบทโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นในบริบทพื้นที่ชุมชน ครอบคลุม ร้านขายของชำในชุมชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนสุขภาพที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัว ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน
  3. เพื่อพัฒนาร้านชำผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ
  2. ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ
  3. เรียนรู้ร่วมกัน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสุขภาพครอบครัว ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ทักษะ การเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ทุกคน
  2. ไม่พบสารต้องห้ามในร้านอาหารทุกร้าน
  3. ร้านชำทุกร้านมีคะแนนผ่านการประเมินร้านชำคุณภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว ชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ เนื่องจากมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผุ้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Taste) แล้วก็ตามแต่ยังพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร จึงต้องดำเนินการตรวจ เฝ้าระวังร้านชำและร้านอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำสุขภาพครอบครัว ชุมชน เจ้าของร้านชำ รับการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ในการเฝ้าระวังคุณภาพของร้านอาหารและร้านชำ จำนวน 73 คน

 

0 0

2. ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ

วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการประเมินร้านชำ จำนวน 15 ร้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเมินร้านขายของชำทั้ง 3 หมู่บ้าน พบว่า ้รานชำผ่านเกณฑ์คุณภาพทุกร้าน เนื่องจากมีการประเมินต่อเนื่อง เจ้าของร้านชำตระหนัก ให้ความร่วมมือ ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญ

 

0 0

3. เรียนรู้ร่วมกัน

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เนื่องจากสถาณการณ์โรคระบาดโควิด 19 จึงไม่สามารถดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากสถาณการณ์โรคระบาดโควิด 19 จึงไม่สามารถดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่ระบุไว้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัว ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน
ตัวชี้วัด : แกนนำสุขภาพครอบครัวมีองค์ความรู้และศักยภาพ ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน
289.00 626.00

 

2 เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน
ตัวชี้วัด : เครือข่ายมีความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน
15.00 20.00

 

3 เพื่อพัฒนาร้านชำผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ
ตัวชี้วัด : ร้านชำได้รับการพัฒนาผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพทุกร้าน
18.00 20.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 629
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัว ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน (2) เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน (3) เพื่อพัฒนาร้านชำผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ (2) ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ (3) เรียนรู้ร่วมกัน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-02-16

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางหนูอั้น ไข่ทอง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด