กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 65-L1483-01-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลบางด้วน 6 หมู่บ้าน ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วย 9,084 ราย เสียชีวิต 6 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 1 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด และกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุคือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นทุกภาคทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ หากผู้ป่วยโควิด-19 ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกร่วมด้วย จะทำให้อาการทรุดหนักได้อย่างรวดเร็วและอาจเสียชีวิตได้
มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด ประชาชนต้องดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ด้วยการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยเน้นมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้าน ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ล้างคว่ำภาชนะและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ 2.เก็บขยะ เศษภาชนะต่างๆ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง ซึ่งจะป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย แม้ว่าในปีนี้ จำนวนคนป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 80 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดมากขึ้น เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในคนลดลง ปัจจัยจากการเดินทางมากขึ้นในช่วงเปิดประเทศ หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอกจากนี้ กลุ่มเด็กวัยเรียนยังเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด เมื่อสถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มเปิดเรียนแบบออนไซด์ (on site) มากขึ้น แนะนำให้ใช้มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค คือเก็บขยะให้เกลี้ยง เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เก็บน้ำให้มิดชิด โดยการเก็บขยะให้เป็นระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงขอให้โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมในการจัดการสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียน เช่น กิจกรรม BIG CLEANING DAY เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย เพื่อไม่ให้ยุงเกิดและไม่ให้นักเรียนโดนยุงกัดจนป่วยซ้ำเติมสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน" ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ความเสี่ยง เห็นความสำคัญที่จะต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์แก่แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  3. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยวิธีทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ
  5. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 00:00 น.