กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายเอนก กลิ่นรส

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-10 เลขที่ข้อตกลง 17/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2565-L3351-01-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 29 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14,590.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขตจังหวัดและตำบล โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคำกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน” แต่ในด้านสมรรถนะขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า “หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team หรือSRRT)” เนื่องจาก ปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะเป็นจุดอ่อนของการป้องกันควบคุมโรคและอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้ ในปี 2564 ศูนย์ระบาดวิทยาได้ให้ความสำคัญในการทำงานด้านระบาดวิทยาและ SRRT มีการสนับสนุนและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประเมินผลการทำงานใน ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานภาพรวมของอำเภอหลายที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SRRTอีกทั้ง จากข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทั้งระดับประเทศเขต จังหวัด อำเภอตำบล พบว่าในปี 2563 มีโรคที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหลายโรค อาจส่งผลไปถึงปี 2565 เพราะเชื้อโรคมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะกลุ่ม โรคอุบัติใหม่/ซ้ำ อีกทั้ง ยังมีโรคประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยคุกคามสุขภาพประชาชน สังคม เศรษฐกิจโดยรวม และอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นจากปัญหาการพบโรคที่รุนแรงและซับซ้อน ตลอดจนมีแนวโน้มที่บางปัญหาจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่นปัญหาโรคไข้เลือดออกโควิด - 19 ไข้สมองอักเสบ ชิกุนกุนยา ซิก้า อหิวาตกโรค และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งระบบเฝ้าระวัง การซักซ้อมแผน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้รับผิดชอบ เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวัง ระบบข่าวกรอง การสอบสวนโรค ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดอัตราป่วย อัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อต่าง ๆ มีทีมงานการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะภาคีที่ชัดเจนมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวได้ให้ความสำคัญใน การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของทีม SRRT ที่จะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการอบรมในครั้งนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วมีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน
  2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม (ต่อพัน)
  3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร
  4. เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. วัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข
  2. พ่นหมอกควันทำลายยุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก)
  3. อบรมพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การตรวจ ATK)
  4. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  5. คัดกรองวัณโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว มีความรู้ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่
  • เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่
  • ทุกครัวเรือนมีการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ็HI = 0 CI =0

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฏิบัติการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - เดือนกันยายน 2565

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564  ถึงเดือนกันยายน 2565

 

0 0

2. วัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข

วันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีวัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารสุขพร้อมใช้งานเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค

 

0 0

3. พ่นหมอกควันทำลายยุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก)

วันที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่มีการดำเนินการต่อ เนื่องจากไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่มีการดำเนินการต่อ เนื่องจากไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0 0

4. อบรมพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การตรวจ ATK)

วันที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งการตรวจคัดกรอง ATK แก่ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ทักาะในการป้ิงกัน ควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งการตรวจคัดกรอง ATK ทุกคน

 

0 0

5. คัดกรองวัณโรค

วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การตรวจคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มญาติผู้ป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงพบว่า มีกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 12 ราย ดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนอดไว้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วมีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน
ตัวชี้วัด : ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน
32.00 60.00

 

2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม (ต่อพัน)
ตัวชี้วัด : อัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงายลดลง และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม
5.71 2.11

 

3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน 2.11
0.00 0.00

 

4 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11
5.71 2.11

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2629
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วมีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน (2) เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม (ต่อพัน) (3) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร (4) เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) วัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข (2) พ่นหมอกควันทำลายยุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก) (3) อบรมพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การตรวจ ATK) (4) รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย (5) คัดกรองวัณโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายเอนก กลิ่นรส )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด