กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ


“ โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565 ”

ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายปรีชา ปันดีกา

ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565

ที่อยู่ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-L5312-1-01 เลขที่ข้อตกลง 10/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 65-L5312-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 59,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

“สุขภาพ” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต ชาวมุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็น นิอฺมัต(ความสุขความโปรดปราน) อย่างหนึ่งจากอัลลอฮฺ(พระเจ้า) ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอฺมัตนี้ด้วย โดยการกล่าวขอบคุณและปฏิบัติอย่างเป็นรูปอธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องนอบน้อมต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอฺมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ นั่นคือเพื่อการภักดีต่อพระองค์ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ็อลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม,ซล.) ได้กล่าวว่า “มีนิอฺมัตความสุข ความโปรดปรานอยู่สองประการ ที่คนส่วนใหญ่จะหลงลืม นั้นคือการมีสุขภาพที่ดีและมียามว่าง” รายงานโดยบุคอรี
องค์การอนามัยโลก(WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพ ไว้ว่า “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย(Physical) จิตใจ(Psycho) จิตวิญญาณ(Spiritual) และสังคม(Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น” จากคำนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่าศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้นการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขได้วางโครงสร้างการดูแลสุขภาพทั้ง ๔ มิติไว้ครบถ้วนแล้วตั้งแต่ ๑,๔๐๐ กว่าปีก่อน ดังนี้๑.การดูแลสุขภาพร่างกาย เช่น การดูแลเรื่องโภชนาการ กล่าวคือมุสลิมต้องเลือกบริโภคอาหารที่ฮาลาล(อนุญาต) และห้ามบริโภคอาหารที่เป็นพิษภัยต่อร่างการเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ที่มีความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจงกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากสิ่งที่เราได้ประทานมาเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า และสูเจ้าจงขอบคุณต่ออัลลอฮฺหากสูเจ้ากราบนมัสการเฉพาะพระองค์เท่านั้น แท้จริงพระองค์ทรงห้ามสูเจ้าบริโภคซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่ผู้เชือดกล่าวนามอื่นจากพระนามของอัลลอฮฺ” การออกกำลังกาย ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซล.) ส่งเสริมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย ท่านได้กล่าวว่า “จงสอนลูกหลานของท่านให้ว่ายน้ำ การยิงธนูและการขี่ม้า” ในฐานะที่เป็นมุสลิมควรที่จะเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม การพักผ่อน ที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ ผู้ใหญ่ควรพักผ่อนวันละ ๖ – ๘ ชั่วโมง และเด็กควรควรจะได้รับการพักผ่อนมากกว่าผู้ใหญ่การนอนก็ควรนอนแบบ “ซุนนะฮฺ”(แบบฉบับศาสนดามูฮัมหมัด) จะได้ทั้งสุขภาพและอิบาดะฮ์ ดังที่อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า “และเราได้ทำให้การนอนของพวกเจ้าเป็นการพักผ่อน”(อัลกรุอ่าน บทที่ ๗๘ ตอนที่ ๙)สุขภาพพลานามัยกับความสะอาด อิสลามถือว่ารากฐานอันสำคัญที่จะทำให้มนุษย์เรามีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์และป้องกันโรคภัยได้อย่างจริงจังคือ ความสะอาด ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้เน้นในการรักษาความสะอาด ดังคำกล่าวของท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซล.) ที่กล่าวไว้ว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” ฉะนั้นความสะอาดเป็นหนทางไปสู่การมีสุขภาพพลานามัยที่ดี และสุขภาพพลานามัยที่ดีนั้นเป็นมงกุฎที่สวมอยู่บนศีรษะแห่งสุขภาพของมนุษย์ที่ปรารถนาการถือศีลอด อิสลามกำหนดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนให้เป็นหน้าที่พึงปฏิบัติสำหรับมุสลิมดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ความว่า “โอ้บรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดังที่ได้ถูกกำหนดกับบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายในอดีต หวังว่าสูเจ้าจะยำเกรงอัลลอฮฺ” การถือศีลอดในเชิงสุขภาพนั้นเป็นเครื่องมือป้องกันผู้ถือศีลอดให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ การถือศีลอดมีประโยชน์อเนกอนันต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันนักธรรมชาติบำบัดเลือกจะใช้วิธีการอดอาหารเพื่อรักษาโรคด้วยเช่นกัน ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซล.) ที่กล่าวไว้ว่า “จงถือศีลอดและท่านจะมีสุขภาพดี” ๒.การดูแลสุขภาพจิต มุสลิมจะดูแลสุขภาพจิตอย่างไรให้มีจิตใจที่เข็มแข็งและอดทน อดกลั้น ต่ออุปสรรคหรือการทดสอบจากอัลลอฮฺ(ซบ.) เพราะถ้าจิตใจไม่เป็นสุขจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายไปด้วย ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ความว่า “และแน่นอนเราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัวและความหิวและความสูญเสีย(อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิตและพืชผลและเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด”(อัลกรุอ่าน บทที่ ๒ ตอนที่ ๑๕๕)ดังนั้นสิ่งที่ชาวมุสลิมพึง ปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิต คือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซบ)ตลอดเวลา อ่านคำภีร์อัลกรุอ่านพร้อมทำความเข้าใจความหมาย การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต(บริจาค) การขอพรให้มีสุขภาพดี๓. การดูแลสุขภาพจิตวิญญาณ มุสลิมผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจะจริงหรือไม่นั้นต้องตรวจสอบตัวเองว่าในทุกการงานของมุสลิมนั้นมีการตั้งภาคี(ปฏิเสธศรัทธา)ต่ออัลลอฮฺ(ซบฺ)หรือไม่ และได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติใช้และบัญญัติห้ามของพระองค์ได้ครบถ้วนหรือยัง หากสุขภาพจิตวิญญาณของเรายังไม่บริสุทธิ์ เราอาจตกอยู่ในกลุ่มของคนมุนาฟิก(ผู้กลับกลอก)ก็ได้ ดังนั้นจึงต้องยืนยันความศรัทธาของเราโดยกล่าวคำปฏิญาณตนว่า “ข้าขอปฏิญานว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงศาสดามูฮัมหมัด(ซล.)เป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ” ๔.การดูแลสุขภาพทางด้านสังคม จะทำอย่างไรให้ทุกชีวิตในสังคมดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขหรือมีความขัดแย้งกันน้อยที่สุด ซึ่งอิสลามได้กำหนดไว้หากมีการทะเลาะเบาะแว้งกันจะต้องคืนดีกันภายใน ๓ วันและต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน และอีกตัวอย่างหนึ่งที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.) ทำไว้เป็นแบบอย่างในเรื่องของสังคมครั้งหนึ่งคือ “การยืนขึ้นให้ความเคารพต่อผู้ตายทีมิใช่มุสลิม” ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามนุษยธรรมนั้นไม่ควรมีอคติต่อความแตกต่างทางด้านศาสนา เพศ สีผิว ฐานันดร หรือความแตกต่างทางด้านอื่น และยังมีอีกหลายเรื่องหลายตอนที่แสดงถึงความเมตตาของศาสนดามูฮัมหมัด(ซ.ล.) ต่อประชาชนในสังคมที่หลากหลาย จะเห็นได้ว่าหลักการอิสลามนั้นได้วางพื้นฐานการดำรงชีวิตไว้อย่างครอบคลุมทุกมิติ
เดือนรอมฎอนเป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ศึกษาพระคัมภีร์อัล-กุรอาน สำรวมกาย วาจา และใจ แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือการถือศีลอด ไม่รับประทานอาหารและน้ำตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม แน่นอนว่าการอดอาหารตลอดทั้งวันติดต่อกัน ๑ เดือนนั้นส่งผลดีและไม่ดีต่อสุขภาพของชาวมุสลิม มีรายงานผลการสำรวจจากโรงพยาบาลพบว่า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนรอมฎอน โดยโรคยอดฮิตส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นลำไส้อักเสบ ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย และโรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการอดอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการนอนไม่พอ และการขาดน้ำ จนทำให้ร่างกายสูญเสียภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้โรคส่วนใหญ่ยังเกี่ยวข้องกับการกินอาหารผิดเวลา กินมากเกินไปในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกดิน รวมถึงการกินอาหารหวานจัด มันจัด ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงรอมฎอน เพื่อชดเชยน้ำตาลและสารอาหารที่ร่างกายสูญเสียไปตลอดทั้งวัน และเพื่อให้อิ่มท้องนานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ที่สำคัญ การกินอาหารหวานมันจัด และกินอาหารจำนวนมากๆในช่วงกลางคืน ยังทำให้ประชาชนจำนวนมากในโลกมุสลิม อ้วนขึ้นแทนที่จะผอมลง แม้จะถือศีลอดอย่างเคร่งครัดก็ตาม เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่ากินอาหารแคลอรี่สูงๆ ในช่วงกลางคืนที่ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงาน ทำให้อาหารที่กินเข้าไปสะสมกลายเป็นไขมันอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าจริงๆ แล้วการถือศีลอดไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การถือศีลอดอย่างถูกวิธี สามารถใช้ลดน้ำหนักได้รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพส่วนอื่นๆ แต่การที่คนส่วนใหญ่อ้วนขึ้นและสุขภาพเสื่อมโทรมในช่วงรอมฎอน เป็นเพราะพวกเขากินอาหารมากเกินไปในช่วงละศีลอดตอนและไม่ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางที่หลักการศาสนาได้วางไว้
ดังนั้นเพื่อเป็นการบูรณาการหลักคำสอนเรื่องการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในช่วงการถือศีลอดของชาวมุสลิมในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในช่วงถือศีลอดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดอบรมประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง สุขภาพดีในเดือนรอมฎอน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ 160

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๒. หลังการถือศีลอดกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ
90.00 100.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในช่วงถือศีลอดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้มีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในช่วงถือศีลอดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
90.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ 160

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถือศีลอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ (2) เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในช่วงถือศีลอดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง สุขภาพดีในเดือนรอมฎอน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสุขภาพดีในเดือนรอมฎอนองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2565 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-L5312-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายปรีชา ปันดีกา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด