กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สังคมใส่ใจ คนไทยสุขภาพดี
รหัสโครงการ 65-L3346-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านพร้าว/นางเตือนใจ เกลี้ยงทอง
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 8,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเตือนใจ เกลี้ยงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 8,850.00
รวมงบประมาณ 8,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพหมายถึงกระบวนการสร้างสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพและเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้นการส่งเสริมสุขภาพเป็นการเอื้ออำนวยให้มีสภาวะร่างกายจิตใจและความเป็นอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์บุคคลหรือชุมชนสามารถระบุสิ่งที่จำเป็นในการที่จะบรรลุการมีสุขภาพดีและในการเปลี่ยนหรือการจัดสิ่งแวดล้อมสุขภาพนั้นถือเป็นแนวความคิดด้านบวกที่เน้นทรัพยากรทางสังคมและส่วนบุคคลมากเท่ากับเน้นความสามารถทางกายโดยนัยนี้การส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้นแต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดีเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลาขาดการออกกำลังกายมลพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อมหรือการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ร่างกายอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยได้การตรวจสุขภาพจะช่วยให้ทราบว่าขณะนี้ร่างกายอยู่ในระดับไหนมีโรคร้ายแฝงอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะโรคที่อยู่ในขอบเขตที่การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจพบได้ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การให้บริการตรวจสุขภาพเชิงรุกจึงเป็นการอำนวยความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพและทำให้เจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพรายบุคคลตามบริบทของแต่ละบุคคลในชุมชนดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นชมรมอสม. ม.3 จึงจัดทำโครงการ”สังคมใส่ใจ คนไทยสุขภาพดี ” นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทราบถึงอันตรายจากสารพิษตกค้างในเลือดและผลที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพในอนาคต

ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,850.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการรับประทานอาหารให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง 0 3,850.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการตรวจคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือด 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังทางสุขภาพ 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง 3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 15:59 น.