กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง


“ วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65 ”

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายสะอารี มะตีเยาะ

ชื่อโครงการ วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65

ที่อยู่ หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-L3065-2-04 เลขที่ข้อตกลง 03/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65 จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65



บทคัดย่อ

โครงการ " วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65 " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-L3065-2-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 15,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะทำให้เด็กหรือเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง โรคหรืออุบัติเหตุต่างๆในเด็กวัยเรียนอาจพบได้บ่อยเกิดขึ้นเสมอ และจากสถานการณ์ด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาวะทางทุพโชนาการ ยาเสพติด สุขภาพจิต ภัยมืดต่างๆที่คุกคามสุขภาพ ทางชมรมมองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียนต้องมีการการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ให้เข้ากับวัยที่กำลังเรียนรู้ และเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต กิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มวัยนี้คือการที่ให้เด็กๆได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย มีการขยับกายและสอดแทรกในเรื่องขององค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดี
      ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพ ชมรมตาดีกาบ้านบางปลาหมอ ก็เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในพื้นที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมเยาวชนอายุ 6 – 12 ปี ให้มีจริยธรรม ความรู้ และพัฒนาการของเยาวชน นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติของเยาวชน เป็นเวลายาวนาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอ ปี 65 เพื่อเพิ่มทักษะด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีนำสู่พัฒนาการที่ดีตามวัยและการใช้เวลาว่าง การแบ่งเวลาที่สมเหตุสมผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันได้อย่างมีความสุข

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็ก 6 - 12 ปี ในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาทักษะ องค์ความรู้
  2. ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย
  3. เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด
  4. สรุปประเมินผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและเยาวชนในศูนย์ตาดีกาบ้านบางปลาหมอ มีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ๒. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใต ๓. เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ กิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม ๔. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานในพื้นที่


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. พัฒนาทักษะ องค์ความรู้

วันที่ 26 มีนาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • อบรมให้ความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กและเยาวชนในหัวข้อ “คุณค่าของตนเอง”
      1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 1 วัน ๖๐ บ x ๖๐ คน      เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท.
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 วัน ๓๕ บ.x ๖๐ คน x ๒ มื้อ เป็นเงิน๔,๒๐๐ บาท
    2. ค่าวิทยากร จำนวน๔ ชม. x ๓๐๐ บาท                                  เป็นเงิน๑,๒๐๐ บาท
    3. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ๑ ผืน                                    เป็นเงิน ๘๐๐ บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมเยาวชนในพื้่นที่ในหัวข้อ "คุณค่าของตนเอง" จัดอบรมเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 60 คน เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ทัศนคติที่ดีและมีภูมคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสภาพปัจจุบันต่อการดำรงชีวิตที่ต้องก้าวให้ทันกับเหตุการณ์

 

0 0

2. เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนปลอดโรค - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจิดกิจกรรม (ถุงดำ ถุงแดง ถังขยะ วัสดุทางการเกษตร จอบ เสียม พันธ์ไม้ และอื่นๆเพื่อใช้ในกิจกรรม) เป็นเงิน2,600 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โดยมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนปลอดโ่รค เดือนละ 1 ครั้ง   - พื้นที่บริเวณศาสนสถาน   - อาคารเรียน   - ถนนสาธารณะ ทั้ง 2 แห่ง   -ในชุมชน • มีการจัดกิจกรรมและเด็กๆเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง • เยาวชนเกิดการเรียนรู้ • ประชาชนมีความสนใจและตระหนักในกิจกรรมที่ลูกหลานได้ร่วมกิจกรรม

 

0 0

3. ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย

วันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรมขยับกาย เคลื่อนไหวทางกายในเวลาว่าง -
    1. ค่าวัสดุกิจกรรมอุปกรณ์ในการจิดกิจกรรม (ลูกฟุตบอล วอลเลย่ ตะกร้อ แฮนด์บอล เชือกกระโดด และอื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม  เป็นเงิน2,600 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การรวมกลุ่มเพื่อการเคลื่อนไหวทางกาย โดยได้มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นหรือช่วงเยาวชนวว่างจากการเรียน มีการบูรณาการ เล่นกีฬาประเภทต่างๆ เช่น การเล่นฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอลและตระกร้อเป็นต้นเพื่อให้เด็กๆได้มีทักษะในกีฬาดังกล่าว

 

0 0

4. สรุปประเมินผลโครงการ

วันที่ 25 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชมรมตาดีกาหมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ได้ดำเนินโครงการวัยเรียน วัยใส ห่วงใยสุขภาพบางปลาหมอ ปี 65 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ขอให้มีโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การปลูกจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะ คือการปลูกฝังจิตใจให้แก่บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรม จริยธรรมภายในให้บุคคลรู้จักการเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างประโยชน์สุขของคนในสังคม ในสิทธิหน้าที่และการบำรุงรักษาร่วมกัน เกื้อกูลช่วยเหลือทุกข์ยากหรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบสังคม ลักษณะประการหนึ่งของกิจกรรมสาธารณะก็คือเป็นกิจกรรรมตามความสมัครใจ เยาวชนต้องลงมือทำด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยคำนึงถึงผู้ที่จะได้รับจากการกระทำนั้นจึงทำให้เยาวชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสามารถที่จะพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์โดยมุ่งเน้นปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสาธารณะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม จะต้องเริ่มให้เยาวชนเริ่มมีจิตสำนึกอาสาเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำสังคมอย่างมีจิตสำนึกต่อไป ชมรมคนรักกีฬา ม.8 บ้านบางปลาหมอ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นในพื้นที่ ได้มีกิจกรรมหลายๆกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับวัยรุ่น มาหลายปี เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ เป็นต้น จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าเยาวชนในพื้นที่เกาะเป็นกลุ่มกัน ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีจิตอาสา มีจิตสำนึกที่ดีและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กิจกรรมที่สำคัญที่ทิ้งไม่ได้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่อีกเรื่องหนึ่งคือการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนขยับทางกาย จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนจิตอาสารักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม บางปลาหมอ ปี 65

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็ก 6 - 12 ปี ในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้รับการอบรมและฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
90.00 81.00 80.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที
90.00 81.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 90
กลุ่มวัยทำงาน 0
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็ก 6 - 12 ปี ในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน (2) เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาทักษะ องค์ความรู้ (2) ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย (3) เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด (4) สรุปประเมินผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65 จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-L3065-2-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสะอารี มะตีเยาะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด