กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ใส่ใจสุขภาพ ลดเสี่ยง โรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง ตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
รหัสโครงการ 65-L3318-01-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 59,002.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโชคชัย เสนเผือก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 59,002.00
รวมงบประมาณ 59,002.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2690 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
17.50
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
20.00
3 ร้อยละของประชาชนที่สงสัยเป็นโรคเบาหวาน
2.20
4 ร้อยละของประชากรที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
7.90

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีจำนวนสูงมากขึ้นซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย และถือว่าเป็นภัยเงียบเพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบในร่างกาย เช่นตา ไต หลอดเลือดอุบัติการณ์เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างเพิ่มขึ้นรวดเร็วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก นำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่างๆในการรักษาพยาบาลดังนั้นการป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและการให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคการควบคุมอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญทำให้การเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง
จังหวัดพัทลุงสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับประเทศย้อนหลัง ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 57,686คน คิดเป็นอัตราป่วย 948.08ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 60,117 คน คิดเป็นอัตราป่วย 951.02 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 256๔ มีจำนวนผู้ป่วย 6๓,๓๖๘ คน คิดเป็นอัตราป่วย 95๕.๖๘ต่อแสนประชากร ตามลำดับและสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 24,365 คนคิดเป็นอัตราป่วย 840.98 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 25,804 คนคิดเป็นอัตราป่วย 852.86ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 256๔ มีจำนวนผู้ป่วย 2๗,3๕๑ คนคิดเป็นอัตราป่วย 8๖๑.๘8 ต่อแสนประชากรตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลังปีพ.ศ.2562 มีจำนวนผู้ป่วย 792 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,372.95 ต่อแสนประชากรปีพ.ศ.2563 มีจำนวนผู้ป่วย 828 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,377.31 ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ.256๔ มีจำนวนผู้ป่วย ๘๔๙ คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,3๓๙.๗๙ ต่อแสนประชากรตามลำดับ และจำนวนสถิติอัตราป่วยด้วนโรคเบาหวานย้อนหลังปีพ.ศ.2562 มีจำนวนผู้ป่วย 382 คนคิดเป็นอัตราป่วย 1,567.82 ต่อแสน ประชากรปีพ.ศ.2563 มีจำนวนผู้ป่วย 388 คน คิดเป็นอัตรา 1,503.64 ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ.256๔ มีจำนวนผู้ป่วย ๔๐๕ คน คิดเป็นอัตรา 1,๔๘๐.๗๕ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลสูงและการติดตามน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว(DTX)ของประชาชนก็มีความสำคัญในการประเมินคัดกรองเบื้องต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีประชากรในเขตรับผิดชอบจำนวน ๑๑ หมู่บ้าน มีเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว(DTX)จำนวน ๔ เครื่องซึ่งไม่เพียงพอ ในการตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานของประชากรดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ลดการสูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและการควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนให้มีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

90.00 93.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เพื่อคัดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

90.00 93.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส.  จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวน ๕๐ คน /๙.๐๙เปอร์เซ็นต์

7.50 8.00
4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. ในกลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรอง

กลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส.  และการเฝ้าระวังด้วยปิงปองจราจร ๗ สี
จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวน ๓๐ คน /๑๐.๙๐ เปอร์เซ็นต์

8.00 9.00
5 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน  (ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕๐

40.00 45.00
6 เพื่อติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ( HMBP)

กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
( HMBP) ร้อยละ 90

30.00 35.00
7 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ ร้อยละ ๙๕

90.00 93.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,002.00 0 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป 0 30,800.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ ๓อ.๒ส.ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรค จำนวน ๑ รุ่น 0 5,880.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ 3อ.2ส.ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 1 รุ่น ๆละ 0 3,660.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเจาะ FBSกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน (ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl )หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 16,000.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 เพื่อติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ( HMBP 0 275.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทาง ผู้ป่วยเบาหวานปฏิบัติ 0 2,387.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ๒.ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยเป็นโรค ๓.กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับการติดตามและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ.๒ ส. ๔.กลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ.๒ ส ๕.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเบาหวาน(ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) ได้รับการเจาะ FBSซ้ำเพื่อติดตามผลและได้รับการส่งต่อในราย ที่พบความผิดปกติ ตาม CPG ๖.กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) เพื่อติดตามผลจ่ายยารักษา ตาม CPG ๗.ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยงสงสัยเป็นโรคลดลง ๘.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 10:29 น.