กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
การฝึกใช้ชุดทดสอบตรวจสารปนเปื้อน1 เมษายน 2565
1
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชน 1.แกนนำส่งเสริมสุขภาพเก็บตัวอย่างอาหารในชุมชน ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร ทุก ๆ 3 เดือน 2.แจ้งผลการตรวจให้กับผู้ประกอบการทราบ 3.สรุปผลการดำเนินการ กิจกรรมประเมินติดตามการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร 1.ออกตรวจร้านอาหาร 2.แจ้งผลการตรวจให้กับผู้ประกอบการทราบกรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้คำแนะนำและตรวจประเมินซ้ำ 3.สรุปผลการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตรวจร้านชำโดยภาคีเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน  จำนวน 20 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 ของร้านทั้งหมด 20 ร้าน 2.ตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน  25 รายการผลการตรวจ  พบสารปรอทปนเปื้อน จำนวน 1 รายการ ในครีมทาหน้าขมิ้นเฮิร์บ 3.ตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 22 แผง คิดเป็นร้อยละ 100  ของทั้งหมด 22  แผง  ผ่านเกณฑ์  จำนวน 20 แผง คิดเป็นร้อยละ 90.90 4.ตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียของ ผู้สัมผัสอาหาร อาหาร ภาชนะอุปกรณ์ด้วยน้ำยา SI 2 แก่ร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านการประเมินตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 22 ร้าน  ของทั้งหมด 22 ร้าน  ได้ผลการตรวจประเมิน  ผ่านเกณฑ์  จำนวน 20 แผง คิดเป็นร้อยละ 90.90 5.เกิดภาคีเครือข่่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน  โดยมีการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 1 ชุมชน โดยมีเครือข่าย อาสาสมัครสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน 6.ประชาสัมพันธ์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย โดยศูนย์แจ้งเตือนภัยในชุมชน 7.เก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจสารปนเปื้อนอาหาร จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ สารกันรา สารฟอกขาว น้ำมันทอดซ้ำ (โพล่าร์) สารบอแรกส์ จำนวน 20 ร้าน ร้านละ 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 200 ตัวอย่าง -สารกันรา  จำนวน 40 ตัวอย่าง  ไม่พบสารกันราในอาหารทั้ง 40 ตัวอย่าง -สารฟอกขาว  จำนวน 50 ตัวอย่าง พบสารฟอกขาวในถั่วงอก และหน่อไม้ดอง ขิงซอย จำนวน  3 ตัวอย่าง -สารบอแรกส์ จำนวน 40 ตัวอย่าง  พบสารบอแรกส์ ในลูกชิ้น และไส้กรอก พบสารบอแรกส์ จำนวน 4 ตัวอย่าง -น้ำมันทอดซ้ำ (โพล่าร์)  จำนวน 20 ตัวอย่าง  ไม่พบสารโพล่าร์  ในน้ำมัน

อบรมพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่าย1 เมษายน 2565
1
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำส่งเสริมสุขภาพ เรื่องอาหารปลอดภัย 1.ทอสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 2.บรรยายใหความรู้โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ เรื่องการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร  เรื่องการตรวจสอบสุขภาพคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การใช้หน้าต่างเตือนภัยการใช้หน้าต่างเตือนภัย สุขภาพของกรมวิทยาศาสตร์แพทย์  3.ฝึกปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ  การสาธิตการตรวจสารปนเปื้อน 5 ชนิด และการตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยาโดยใช้ชุดทดสอบ  ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบในการตรวจสารปนเปื้อน 5 ชนิด และการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและยา  4.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร, แผงลองจำหน่ายอาหาร 1.ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม  โดยใช้แบบสอบถาม 2.บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่  บรรยาย  เรื่องสุขาภิบาลอาหาร 3.ฝึกปฏิบัติตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 4.ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม 5.สรุปผลการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำ  ประชาชนผู้บริโภคมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร  ได้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย  ไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง  และสามารถสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน