กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิด - 5 ปี ครบตามเกณฑ์
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเป็นเกณฑ์ชี้วัดที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าของแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขมีระบบการติดตามความครอบคลุม ของการได้รับวัคซีน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งระบบบันทึกข้อมูลดังกล่าวยังพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ทั้งในด้านความครบถ้วนของการติดตาม ข้อมูล รูปแบบวิธีการติดตามการได้รับวัคซีนในเด็กและด้านความสมบูรณ์ของการบันทึกข้อมูล ทำให้ฐานข้อมูลดังกล่าวยังมีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง  ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลความครอบคลุมการรับวัคซีนพื้นฐานในเด็กแรกเกิด-5 ปี จากฐานข้อมูลงานศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง พบว่าความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กแรกเกิด - 1 ปี ความครอบคลุมอยู่ที่ร้อยละ 100 ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุ 2 ปี ความครอบคลุมอยู่ที่ร้อยละ 77.94 ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุ 3 ปี ความครอบคลุมอยู่ที่ร้อยละ 82.54 ความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุ 5 ปี ความครอบคลุมอยู่ที่ร้อยละ 42.02 ซึ่งพบว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด       งานศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง เล็งเห็นความสำคัญของการติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนและการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการติดตามความครอบคลุมการรับวัคซีนพื้นฐาน ประจำปี 2565 เพื่อส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยการสำรวจข้อมูลหรือการติดตามความครอบคลุมการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นวิธีการหนึ่งที่จะเป็นการประเมินระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรวจสอบความถูกต้องได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ในแผนการให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน และอาการไม่พึงประสงค์

ร้อยละ 90 ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5ปี ที่พบ ได้รับการติดตามและมารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด

ร้อยละ 80 ของเด็กที่พบได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

0.00
3 เพื่อให้ผู้รับบริการวัคซีนในคลินิกสุขภาพเด็กดี ได้รับการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน

ร้อยละ 70 สามารถติดตามอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,020.00 2 13,220.00
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 การอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 6,420.00 6,420.00
29 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 การติดตามความครอบคลุมและอาการข้างเคียงวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน 0 8,600.00 6,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม
  2. เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุเพิ่มมากขึ้น
  3. ผู้รับบริการวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในคลินิกสุขภาพเด็กดี ได้รับการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากวัคซีน
  4. นำผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ มาพัฒนาระบบการบริหารจัดการวัคซีนและการติดตาม ให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2565 11:00 น.