กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต


“ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19 ”

หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19

ที่อยู่ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-L3321-1-09 เลขที่ข้อตกลง 11/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19 " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-L3321-1-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคโควิด - 19 (Coronavirus Disease 2019; COVID-19) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เริ่มมีการระบาดจาก เมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน ที่ลุกลามขยายการระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) สามารถติดต่อเข้าสู่คน ผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการศึกษาการติดเชื้อจากไวรัส พบว่าคนติดเชื้อคนหนึ่ง จะสามารถแพร่เชื้อ ไปให้คนอื่นได้ราว2 -6 คน ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน พบว่าการระบาดของโรค โควิด - 19 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก มีผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลก 179 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 3.89 ล้านราย (Worldmeter Covid, 2021) สำหรับประเทศไทย มีการระบาดของโรคเป็นอันดับ 76 ของโลกโดยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 228,539 ราย มีรายใหม่ 3,174 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 189,777 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 37,018 ราย เสียชีวิต 1,744 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.76 คน (กรมควบคุมโรค, 2564 ) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ของจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 พบผู้ติดเชื้อ จำนวน130 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,089 ราย เสียชีวิตสะสม7 รายและของพื้นที่ตำบลปันแต พบผู้ป่วยจำนวน55 ราย
การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน สุขภาพภาคประชาชน มีการกระจายอยู่ทุกหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการสุขภาพของชุมชนอย่างเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น สำหรับตำบลปันแตมี อสม. จำนวน 114 คน โดยภาพรวม อสม. 1 ท่าน รับผิดชอบ 16 หลังคาเรือนการปฏิบัติงานของ อสม. ตำบลปันแต ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด – 19 อสม.ได้มีส่วนร่วมเป็นกำลังหลักในการดำเนินงานสถานการณ์โรคโควิด - 19 อสม. มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลประชาชนชนในพื้นที่ เป็นกำลังหลักในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค โควิด - 19 ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีกิจกรรม “อสม. เคาะประตูบ้าน” ให้ความรู้ วิธีการป้องกันโรค ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป สังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัยของกลุ่มเสี่ยง (Home Quarantine) ของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน รวมไปถึงการประสานงานเตรียมความพร้อมของชุมชน การประสานงานต่อเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมการรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ภารกิจหลักของอสม. ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ได้แก่ การเคาะประตูบ้านรณรงค์ ให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร โรคโควิด-19 การนำนโยบายการเฝ้าระวังและป้องกันโรคสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา ที่สอดคล้องกับพื้นที่ การเป็นผู้นำในการปฏิบัติพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ร่วมสร้างมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การเตรียม อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและป้องกันโรค การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรค การรณรงค์ขับเคลื่อนการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคและ การติดตามเยี่ยมสังเกตอาการที่บ้านของกลุ่มเสี่ยง
จากการปฏิบัติงานของ อสม. ตำบลปันแต ต่อสถานการณ์โรคโควิด - 19 ดังกล่าว ล้วนต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างของ อสม. การประสานงานที่ดี ความอดทน และความทุ่มเทเสียสละของ อสม. ต่อส่วนรวม ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในชุมชนเป็นไปด้วยดี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามการที่ อสม. จะสามารถปฏิบัติภารกิจด้านการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น องค์ความรู้ หรือความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 การรับรู้บทบาท แรงจูงในในการปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนาCovid -19 ในการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ต่อการวางแผนการควบคุมและป้องกันโรคโควิด - 19 และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในชุมชน และเป็นแนวทางในการวางแผนการปฏิบัติงานของ อสม. ด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุข ของพื้นที่
  2. 2.เพื่อให้ อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ
  2. กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 114
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
อสม. 114

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อสม.ทำงานได้รวดเร็ว ทั่วถึงและสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0
  2. ประชาชนเข้าถึงข่าวสารสุขภาพและเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมการอบรมเชิง ปฏิบัติการ  และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจสามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้ จำนวน 1 วัน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต  ร้อยละ100 ของอสม.ต.ปันแต เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจ -ผลลัพธ์  ร้อยละ 89.91 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดย การอบรมเชิง ปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจสามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้

 

114 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุข ของพื้นที่
ตัวชี้วัด : ร้อยละ95ของอสม.ต.ปันแต เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจ
95.00

 

2 2.เพื่อให้ อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ80ของอสม.ต.ปันแต เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจสามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 228
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 114
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
อสม. 114

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการปฏิบัติงาน    ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุข  ของพื้นที่ (2) 2.เพื่อให้ อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ (2) กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-L3321-1-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด