กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) โรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม
รหัสโครงการ 65-L5313-02-012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 40,305.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภิญโญ อ่อนคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 40,305.00
รวมงบประมาณ 40,305.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
ยังทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการระบาดของ โควิด - 19 โดย เฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม มีจำนวนนักเรียน 78 คน จำนวนครูและบุคลากร จำนวน 15 คน รวม 93 คน และทางรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting(เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็มได้เปิดทำการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 โดยจัดการเรียนการสอนภายใต้มาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ทั้ง 4 ด้าน คือ มาตรการด้านกายภาพ มาตรการด้านการมีส่วนร่วม มาตรการด้านการประเมินความพร้อมสู่การปฏิบัติ และมาตรการด้านการดำเนินการของโรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

93.00 0.00
2 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)
  • นักเรียน ครู และบุคลากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100
  • นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีการสวมหน้ากากอนามัย ร้อยละ 100
  • นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีการสวอป (Swab) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เมื่อมีความเสี่ยง ร้อยละ 100
93.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,305.00 3 40,305.00
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2 วัน 0 12,265.00 12,265.00
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการเรื่องการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Swab) ด้วย Antigen Test Kit (ATK) 0 27,740.00 27,740.00
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3. กิจกรรมติดตามประเมินผล 0 300.00 300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคป้องกันโรคการคัดกรองอุณหภูมิการเว้นระยะห่างทางสังคม การทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่
    ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานาน และส่งเสริมด้านสุขอนามัยโดยการล้างมือด้วยสบู่ หรือ
    เจลแอลกอฮอล์ ในโรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม
  2. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด - 19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID 19) ให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านคลองน้ำเค็ม
  3. นักเรียน ครูและบุคลากรมีความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019
    (COVID - 19)
  4. นักเรียนและบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  5. นักเรียนและบุคลากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Swab) ด้วย Antigen Test Kit (ATK)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2565 00:00 น.