กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเร่งรัดกำจัดโรคเท้าช้าง ปีงบประมาณ 2565 หมู่ที่ 6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 65-L8422-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 45,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีมาน ตงลอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis)เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม (Roundworm) ติดต่อโดยทีโดยแมลงเป็นพาหะ คือ ยุง ในประเทศไทยพบพยาธิโรคเท้าช้าง ๒ ชนิด ได้แก่เชื้อ Wuchereriabancrofti ทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พาหะหลัก คือ ยุงลายป่า(Aedesnevius) พบในจังหวัดชายแดนไทย – พม่า ในจังหวัดตากแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน กาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง และ เชื้อBrugiamalayi ทำให้เกิดอาการแขนขาโตมีพาหะหลักคือ ยุงเสือ(Mansoniabonnea) พบทางภาคใต้ของประเทศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส สำหรับจังหวัดนราธิวาสโรคเท้าช้างถือเป็นโรคประจำถิ่น มีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงตรวจพบเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรียอยู่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคเท้าช้างไปแล้วในเดือนกันยายน ปี 2560 ก็ตาม แต่เนื่องจาก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะขนาดใหญ่อยู่ และประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดตลอดเวลา จึงมีโอกาสรับเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างได้สูงมากกว่าพื้นที่อื่น จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำของโรคเท้าช้าง โดยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เข้าดำเนินการเจาะเลือดค้นหา ผู้ติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างด้วยการใช้ชุดตรวจแบบเร็วสำเร็จรูป และทำฟิล์มเลือดหนา ในเขตรับผิดชอบของตนเอง ทำให้มีความครอบคลุม มาตรการที่สำคัญ คือ ๑) การรักษากลุ่มประชากรเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ๒) การรักษาเฉพาะรายโดยการติดตามจ่ายและเจาะโลหิตซ้ำในผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือด ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอวัยวะบวมโต ๓) การให้สุขศึกษา – ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคเท้าช้างอย่างถูกต้อง เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษา และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องต่อไป
สำหรับพื้นที่หมู่ที่6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นหมู่บ้านเป้าหมายที่เป็นพื้นที่เสี่ยงระบาดโรคเท้าช้าง ซึ่งทางโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้จัดทำโครงการ เร่งรัดกำจัดโรคเท้าช้างปีงบประมาณ 2564 หมู่ที 6 บ้านบาโงดุดุง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้าง
  1. ประชาชนในพื้นที่หมู่6 บ้านบาโงดุดุงได้มีการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง ร้อยละ60
  2. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้าง
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้าง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

10 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ให้ความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง ลักษณะอาการของโรค, สาเหตุของโรค, การรักษาโรค, ภาวะแทรกซ้อนของโรคและ การป้องกันโรคเท้าช้าง และเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน แบ่งเป็น 2 วัน วันละ 150 คน 45,420.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนให้ความร่วมมือคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง
  2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
  3. ผู้ป่วยรายใหม่ รับการรักษาได้ทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 00:00 น.