กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มสตรี
รหัสโครงการ 65-L3013-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีบ้านจือโระ
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 พฤษภาคม 2565 - 5 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 5 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 36,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮานิง แวเย็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 พ.ค. 2565 5 มิ.ย. 2565 36,840.00
รวมงบประมาณ 36,840.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลอาศัยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ) มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มสตรีในตำบล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของกลุ่มสตรี และเนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ล้วนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก ในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมาก จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรทความปลอดภัย ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนครอบคลมกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ และในโอกาสที่ล่วงเลยเดือนรอมฎอน เดือนที่ยิ่งใหญ่ของศาสนาอิสลาม ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องทำการถือศิลอดเป็นเวลา 1 เดือน และมุ่งมั่นในการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆเพื่อหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮ(ซ.บ.)ในเดือนที่ผ่านมา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มุสลิมต้องรู้จักการปรับวิธีการบริโภค เพื่อให้มีโภชนาการครบถ้วนอย่างสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักคำสอนศาสนา ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริโภคและวิถีชีวิตในวาระปกติของกลุ่มสตรีบ้านจือโระในตำบลบานาจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจะอบรมให้ความรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตน การดูแลสุขภาพอนามัย การดูแลโภชนาการ โดยเฉพาะกลุ่มสตรีเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพแก่กลุ่มสตรีและประชาชนทั่วไป

กลุ่มสตรี และประชาชนทั่วไปเข้าใจการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการ

กลุ่มสตรี และประชาชนทั่วไปรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และหันกลับมาดูแลสุขภาพ

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มสตรีบ้านจือโระ สามารถปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและมีสุขภาพพลานามัยที่ดี และแข็งแรง

กลุ่มสตรี และประชาชนทั่วไปนำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามไปปฏิบัติตน เพื่อให้ได้สุขภาพพลานามัยที่ดี และแข็งแรง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,840.00 1 36,840.00
28 พ.ค. 65 - 5 มิ.ย. 65 รณรงค์ให้ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มสตรีบ้านจือโระ 0 36,840.00 36,840.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสตรีบ้านจือโระ มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ

  2. กลุ่มสตรีบ้านจือโระ สามารถปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและมีสุขภาพพลานามัยที่ดี และแข็งแรง

  3. ผู้เข้ารับการอบรม ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับศาสนาก่อให้เกิดความปรองดอง สมานสามัคคีในหมู่ผู้สูงอายุ และหน่วยงานที่จัดอบรมในตำบล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 00:00 น.