กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2457-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 16,570.00
รวมงบประมาณ 16,570.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนภาวะแทรกซ้อนทางไต
36.05

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติการณ์โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Desease CKD) และโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากเมื่อเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease ซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๕๐,๐๐๐บาทต่อคนต่อปีหรือการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง                        (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งขาดแคลนไต จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๔๗) พบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ๖๒.๕ ต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี (๓,๙๙๘ ราย) และ Prevalence ๑๗๕.๒ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี (๑๑,๒๐๘ ราย) คือประมาณ๑ ใน ๔ ของผู้รับบริการ อุบัติการณ์จริงที่น่าจะเป็นคือ ๒๕๐ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปีและจากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี ๒๕58 พบผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเกือบ ร้อยละ ๕๐ และร้อยละ ๒๔.๐๖
    จากการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นางพบว่าข้อมูลสอดคล้องกันคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 36.05 ในปี ๒๕๕9 และผลการดำเนินงาน ให้ความรู้ในปี ๒๕64 พบว่ากลุ่มเป้าหมายหลังจากที่ได้รับความรู้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ค่อนข้างดีขึ้น โดยการประเมินเปรียบเทียบจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่างแม่นางจึงได้จัดการทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแล หรือ ผู้ป่วยโรคไต มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไตเรื้อรังสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันการชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย

ห้ผู้ดูแล หรือ ผู้ป่วยโรคไต  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ80

80.00
2 เพื่อลดอุบัติการณ์เกิดภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

อุบัติการณ์เกิดภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้ายลดลง ร้อยละ 50

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,570.00 0 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
4 ก.ค. 65 ขั้นดำเนินการกิจกรรมการอบรม ให้ความรู้ 0 16,570.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตระหนักถึงความสำคัญของโรค และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับความรู้การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนใน อนาคต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2565 09:59 น.