กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี วิถีมุสลิม
รหัสโครงการ 65-L8407-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายอาหมาด ดาหมาด 1.นายอับดลฆอนี รูบามา 3.นส.รสนา ลำโป 4.นายรอหิม หลงสมัน 5. นายบูฮาสัน ด่อละ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
40.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม
70.00
3 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่าประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ให้คำนิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนร้อยละ ๑๐ หรืออายุ ๖๕ ปีขึ้นไปเกินร้อยละ ๗ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๐ หรืออายุ ๖๕ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๔ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ๗.๐ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๐.๗ในปี ๒๕๕๐ เป็น ๗.๕ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๑.๗ ในปี ๒๕๕๓ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ๑๔.๕ ล้านคน หรือร้อยละ ๒๐ ในปี ๒๕๖๘ หรือ ๑ใน ๕ จะเป็นประชากรผู้สูงอายุ ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ ๓.๖ ในปี ๒๕๓๗ เป็น ๗.๖ ในปี ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รักษาไม่หาย มีภาวการณ์พึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดย เฉพาะการจัดให้มีส้วมนั่งราบห้อยขาในทุกสถานบริการและในชุมชนเพื่อลดความรุนแรงจากโรคข้อเข่าเสื่อม จึงมีความสำคัญ ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนีย์บุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อนมีความรู้มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมายจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดุแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมาโดย และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือว่าการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่อย่างต่อเนื่อง และควบคู่ไปกับกลุ่มอื่น ๆในสังคม เช่น เด็กเยาวชนและสตรี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

40.00 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

60.00 80.00
3 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

70.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 25,000.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายใจและสุขภาพจิต 150 20,000.00 -
1 - 20 ส.ค. 65 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า กรณีเสียชิวิตจากโรคโควิด-19 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2564 00:00 น.