กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 ”
ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางสาวอภัยรัตน์ มุขตา




ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565

ที่อยู่ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65–L3323-1-01 เลขที่ข้อตกลง 21/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65–L3323-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 37,656.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็กซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.9 โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52 และเด็กอายุ 5 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 75.6 ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 73.8 ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก 3 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 51 และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุดร้อยละ 50 สำหรับจังหวัดพัทลุง ปัญหาฟันผุใน เด็กเล็กยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยจากระบบรายงานสาธารณสุข (HDC) ปี พ.ศ. 2563 - 2564 พบว่ามีความชุกฟันผุในฟันน้ำนม เป็นร้อยละ 55.2 และ 49.2 ตามลำดับ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ 1 - 6 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในปี 2564 พบว่า เด็กมีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 55.8,52.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เด็กมีฟันผุในช่องปากอย่างน้อย 1 ซี่
สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก
การเกิดโรคฟันผุเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เพียงพอซึ่งทำให้มีเชื้อโรคก่ออันตรายได้โดยเฉพาะผู้ที่มีปริมาณเชื้อ สเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ (mutans streptococci หรือ MS) และแลคโตแบซิลลัส (lactobacillus) มาก ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุสูง เพราะเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะอาศัยอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ทำให้เกิดการสร้างกรด และเมื่อกรดมีการสัมผัสฟันบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน ๆในแต่ละครั้ง เช่น ในผู้ที่ทานอาหารที่น้ำตาลบ่อย ๆ ผู้ที่ดื่มนมหลับคาขวดนม หรือ หรือผู้ที่แปรงฟันไม่สะอาด ขาดการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ รวมถึงในช่วงที่มีฟันขึ้นมาใหม่ๆซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ หากมีเชื้อโรคและน้ำตาลร่วมด้วย จะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (demineralization) ของผิวเคลือบฟันได้อย่างรวดเร็วและก่อให้เป็นรูผุและหากลุกลามจะทำให้สูญเสียฟันในที่สุด ดังนั้นการป้องกันการเกิดฟันผุ โดยเฉพาะในวัยเด็กนั้น จึงจำเป็นที่จะดูแลทั้งในการจัดการเชื้อโรค ผ่านการแปรงฟันด้วยการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การควบคุมอาหารหวาน การเคลือบหลุมร่องฟัน การใช้สารฟลูออไรด์วานิชทาฟันเพื่อป้องกันฟันผุ เป็นมาตรการหลักที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่าในปัจจุบัน ได้มีความพยายามในการรณรงค์เรื่องให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กเล็กเพิ่มขึ้น รวมถึงการแนะนำ การควบคุมอาหารหวาน การเลิกนมขวด และการใช้สารต่าง ๆร่วมด้วย แต่ยังไม่เพียงพอในการควบคุมหรือจัดการสถานการณ์ฟันผุในกลุ่มเหล่านี้ได้ ดังนั้น การหาทางเลือกมาตรการ แนวใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และสามารถจัดการฟันผุเพิ่มเติมขึ้น จึงเป็นสิ่งเร่งด่วนที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้ทันท่วงที
ที่มาและประโยชน์ของนม Probiotics โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เกิดการสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์ในผนังเนื้อเยื่อเมือก หรือช่วยกระตุ้นกลไกของระบบภูมิต้านทาน โดยกลไกการทำงานของโพรไบโอติกมีผู้รวบรวมรายงานไว้หลายประการ กล่าวคือ 1) โพรไบโอติกช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีความเตรียมพร้อมในการต้านแบคทีเรียก่อโรค 2) โพรไบโอติกเป็นตัวแข่งขันในการแย่งพื้นที่และอาหารเพื่อการดำรงอยู่ในร่างกาย ทำให้แบคทีเรียก่อโรคมีโอกาสในการอยู่รอดในร่างกายได้น้อยลง 3) โพรไบโอติกสร้างสารต้านจุลชีพ (โปรตีน) และสารอื่น ๆ มีผลในการต้านเชื้อก่อโรคและ 4) โพรไบโอติก สร้างสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไวตามิน เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ได้มีในการนำโพรไบโอติกมาใช้ในวงการสุขภาพช่องปาก จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดย Jorgensen และคณะ ศึกษาถึงผลการใช้โพรไบโอติกในเด็กอายุ 0-6 ปี พบว่า สามารถลดการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์หลอก 4 โดยเฉพาะในกลุ่ม ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก เน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก บูรณาการงานสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพ ในทุกสถานบริการ ได้แก่ การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กโดยผู้ปกครอง การตรวจสุขภาพช่องปากและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนากิจกรรมด้านการสร้างเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ จากการคัดเลือกสายพันธ์สู่การนำไปใช้ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเด่นในระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และผศ.ดร.ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ (อย.กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 346 พ.ศ.2555) กลไกการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ได้แก่ แข่งขันการได้รับสารอาหารและพื้นที่ยึดเกาะจากเชื้อที่ก่อโรค ปล่อยสารโปรตีนที่ต้านจุลชีพ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่องปาก ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบ “นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกส์” ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการป้องกันฟันผุและการเกิดฟันผุใหม่ในเด็กเล็กที่มีฟันผุ 0-2 ซี่ ได้ถึง 5.25 เท่า และในเด็กที่มีฟันผุ 2-5 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด็กที่มีฟันผุมากกว่า 6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nuntiya et. Al,2018 ) การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาส่งเสริมให้เด็กสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคโดยตนเองภายใต้การจัดการให้ได้รับอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ให้สอดคล้องในการป้องกันโรคในภาวะชีวิตวิถีใหม่ (new normal)
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมนมผสมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุ จึงได้จัดทำโครงการโครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพี่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีในชีวิตวิถีใหม่ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อเด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน
  2. 2. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ก่อนการให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก
  2. 2. ให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกในเด็กอายุ 2-6 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 3 เม็ดต่อวัน 21 เม็ดต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน
  3. 3. สนับสนุนสื่อทันตสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ แก่ผู้ปกครอง เช่น แผ่นพับ ไวนิลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสู่สุขภาพ 3 ดี (สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย)
    1. ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพเด็กสู่สุขภาพ 3 ดี
    2. ลดอัตราการเกิดฟันผุอย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อเด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน
ตัวชี้วัด : 1.เด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน ร้อยละ 100
0.00

 

2 2. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน
ตัวชี้วัด : 2. ป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนม ในเด็กในปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 60
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อเด็กปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลสุขภาพตำบลพนางตุง ได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน (2) 2. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ก่อนการให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก (2) 2. ให้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกในเด็กอายุ 2-6 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 3 เม็ดต่อวัน 21 เม็ดต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน (3) 3. สนับสนุนสื่อทันตสุขภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ แก่ผู้ปกครอง เช่น แผ่นพับ  ไวนิลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการนวัตกรรมใหม่ให้ลูกน้อยฟันดี ด้วยนม Probiotics ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2565 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65–L3323-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอภัยรัตน์ มุขตา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด