กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมทักษะชีวิตวัยใสตำบลเกะรอ
รหัสโครงการ 65-L4156-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 32,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภิญญา มะหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ส.ค. 2565 2 ส.ค. 2565 32,720.00
รวมงบประมาณ 32,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 176 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน สภาพการแข่งขันและสภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม จารีตและประเพณีที่ปรับเปลี่ยนไป สภาวะความทันสมัย ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่เน้นวัตถุนิยม พ่อแม่หลายคนต้องไปประกอบอาชีพตั้งแต่เช้าและกลับมามืดค่ำ จึงไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน บางรายละทิ้งบุตรหลานไว้กับคนแก่เพื่อไปทำงานหารายได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การเรียนรู้ของวัยรุ่นในยุคปัจจุบันจึงเป็นเพียงการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผ่านเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ฯลฯ โดยขาดการวิเคราะห์ พิจารณา ที่เท่าทันและเหมาะสม ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ดูแลที่เป็นคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่เท่าทันต่อความสมัยใหม่ เพราะเติบโตในวัฒนธรรมการสอนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในกลุ่มวัยเรียนจำนวนมากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเพศที่เหมาะสมและขาดทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง โดยวัยรุ่นไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกวิธีและปลอดภัย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองเมื่อต้องอยู่กับเพศตรงข้ามตามลำพัง ส่งผลให้มีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อมและขาดการป้องกัน เด็กผู้หญิงหลายคนถูกล่อลวงไปข่มขืนและอนาจารทางเพศ เงื่อนไขดังกล่าวนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนนับเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและส่งผลต่อสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรแก้ไขปรับเปลี่ยนความคิดและสร้างความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการดูแลตนเองให้กับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนรู้จักการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่อการล่อลวงและเกิดอันตรายทางเพศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด และห่างไกลจากยาเสพติด

ร้อยละ 100 ของเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด และห่างไกลจากยาเสพติด

100.00
2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา และพ่อแม่วัยใส

ร้อยละ 100 ของเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา และพ่อแม่วัยใส

100.00
3 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ร้อยละ 100 ของเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

100.00
4 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ และการหารายได้เสริมระหว่างเรียน

ร้อยละ 100 ของเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ และการหารายได้เสริมระหว่างเรียน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
19 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต 176 32,720.00 32,720.00
รวม 176 32,720.00 1 32,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องยาเสพติด เพิ่มขึ้น
  2. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงการเรียนรู้การมีคุณค่าของตนเอง
  3. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเรื่องเพศศึกษา (อนามัยเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันการถูกล่อลวงและการล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรม) เพิ่มขึ้น
  4. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะชีวิต เข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยในเรื่องเพศ เพิ่มขึ้น
  5. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถป้องกันตนเองจากการถูกล่อลวงและการละเมิดทางเพศทำให้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมลดลงได้
  6. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น
  7. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างรายได้เสริมระหว่างเรียนเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 12:52 น.