กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน


“ โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 ”

ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายวิสุทธิ์ สุวรรวร

ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565

ที่อยู่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-L8429-01-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-L8429-01-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 สิงหาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,430.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 จำนวน 4,442,648 ราย เสียชีวิต 29,972 ราย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนและนักเรียนได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ทำให้สถานการณ์ของโรคคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในระดับคงที่
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงมาตรการผ่อนปรน สถานศึกษาภาครัฐและเอกชนได้เตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 นั้น ซึ่งโรงเรียนทั้งหมดในเขตรับผิดชอบเป็นโรงเรียนประเภทไป-กลับ การเปิดโรงเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดตามประกาศดังกล่าวเพื่อควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ โรงเรียนต้องจัดพื้นที่หรือบริเวณให้เป็นจุดคัดกรอง (Sceening Zone) ที่เหมาะสม นักเรียน ครู บุคลากร และผู้มาติดต่อ ต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่ ทุกคนต้องตรวจคัดกรอง ATK เมื่อสถานศึกษาเปิดเรียน จัดให้มีการสุ่มตรวจ ATK นักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา รวมถึงการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวทั่วไปและการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ เกี่ยวกับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนตามแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน การเตรียมสถานศึกษาในช่วงเปิดภาคเรียน กิจกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเมื่อเปิดการเรียนการสอน การทำความสะอาดโรงเรียน กิจกรรมเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน และการแยกตัวอยู่บ้านของผู้สัมผัสไม่มีอาการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา ตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน จึงจัดทำโครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน
  2. เพื่อให้คณะครู นักเรียน มีความรู้และทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK
  3. เพื่อให้คณะครูและนักเรียน สามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรูปแบบสื่อละคร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน และ อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น
  2. ประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น
  4. การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกามีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น

วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมให้ความรู้การสร้างความเข้าใจ ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมภูผาเพชร โรงพยาบาลสิเกา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 78 คน พบว่านักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 94.92 และนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐

 

55 0

2. การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วันที่ 31 สิงหาคม 2565
เวลา ๑๓.๐0 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมภูผาเพชร โรงพยาบาลสิเกา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วันที่ 31 สิงหาคม 2565
เวลา ๑๓.๐0 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมภูผาเพชร โรงพยาบาลสิเกา ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 77 คน พบว่านักเรียนสามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในรูปแบบสื่อละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนละ 1 เรื่อง

 

55 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมภูผาเพชร โรงพยาบาลสิเกา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 78 คน พบว่านักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 94.92 และนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ 2 การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วันที่ 31 สิงหาคม 2565
เวลา ๑๓.๐0 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมภูผาเพชร โรงพยาบาลสิเกา ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 77 คน พบว่านักเรียนสามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในรูปแบบสื่อละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนละ 1 เรื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้น
70.00 70.00

 

2 เพื่อให้คณะครู นักเรียน มีความรู้และทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๗๐ ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK ได้ถูกต้อง
70.00 70.00

 

3 เพื่อให้คณะครูและนักเรียน สามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรูปแบบสื่อละคร
ตัวชี้วัด : มีละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนละ 1 เรื่องในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 55 78
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 77
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน (2) เพื่อให้คณะครู นักเรียน มีความรู้และทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK (3) เพื่อให้คณะครูและนักเรียน สามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรูปแบบสื่อละคร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน และ อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น (2) ประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (3) กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น (4) การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-L8429-01-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวิสุทธิ์ สุวรรวร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด